การตั้งครรภ์และ พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 16 สัปดาห์

26 September 2017
44910 view

อายุครรภ์ 16 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์อายุครรภ์ 16 สัปดาห์

ตอนนี้ลูกจะมีความยาวประมาณ 10.8-11.6 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 80 ก. แคลเซียมจะสะสมเพียงพอจนเห็นกระดูกของทารกได้จากเอกซเรย์ และมีการสร้างแขนขาเต็มที่แล้วโดยขาเติบโตยาวกว่าแขน ข้อทั้งหมด "ทำงาน" และเคลื่อนไหวได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งยกนิ้วหัวแม่มือไปที่ปาก ศีรษะตั้งตรงมากขึ้น สมองควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อมากขึ้น การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งจึงเป็นไปอย่างตั้งใจ รวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันกำลังเริ่มผลิตแอนติบอดีป้องกันของตนเอง เป็นการรับหน้าที่ต่อจากพ่อแม่

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ อายุครรภ์ 16 สัปดาห์

มดลูกของคุณแม่กำลังขยายเพื่อให้มีที่สำหรับลูกและรกที่กำลังเติบโต และน้ำคร่ำที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยระยะนี้มีปริมาตรประมาณ 200 มล. สัปดาห์ที่ 16 เป็นสัปดาห์สำคัญสำหรับการทดสอบ โดยมักทำการทดสอบเอเอฟพีและการคดกรองอื่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก ขณะนี้ต่อมน้ำนมของคุณจะเริ่มผลิตน้ำนมซึ่งทำให้เกิดการบวม และอาการกดเจ็บ เลอดจะไหลเวียนมายังเต้านมมากขึ้นทำให้มองเห็นหลอดเลือดดำและปุ่มมอนต์โกเมรี (ปุ่มเล็กๆ รอบหัวนม) เด่นชัดขึ้น

การตรวจสุขภาพครรภ์ในคุณแม่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์

1.นัดตรวจครรภ์ปกติ
2.อาจ ตตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ultrasound
3.อาจ ตรวจ triple test

ปัจจุบันวิธีการตรวจคัดกรองที่จัดว่าเป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยสูง และมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ทุกราย คือ การตรวจเลือดแม่ โดยการตรวจทางชีวเคมี ได้แก่ การตรวจ MSAFP, beta hCG และ UE3 ซึ่งจะสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถูกต้องถึง 70% (Detection rate) วิธีนี้มีความแม่นยำสูง ที่สำคัญที่สุด คือ มีความปลอดภัยสะดวกรวดเร็ว

4.อาจ เจาะน้ำคร่ำ 

การเจาะน้ำคร่ำมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งตรวจ amniocentesis โรค Down syndrome เป็นความผิดปกติของทารกแรกคลอดซึ่งมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ข้าง พบได้ประมาณร้อยละ 0.75 ของทารกแรกคลอดมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนจะมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน โดยหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะมีอัตราเสี่ยงมากว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยดังนี้

5.แพทย์อาจทำการตรวจ  Alpha-Fetoprotein (AFP)

AFP เป็นค่าโปรตีนที่สร้างมาจากเยื่อบุผิวของเซลล์ถุงไข่ (yolk sac), เซลล์ตับ และทางเดินอาหารของทารกในครรภ์มารดา มีระดับสูงสุดในเลือดประมาณสัปดาห์ที่ 13 ของทารกในครรภ์ หลังจากนั้นจะมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อใกล้คลอด จนมีระดับเท่าระดับปกติในผู้ใหญ่ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด จึงพบ AFP สูงได้ในภาวะดังต่อไปนี้ (แต่เป็นภาวะปกติ)

  • ทารกในครรภ์มารดา
  • ทารกแรกคลอด
  • และหญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าทารกในครรภ์มีความผิดปกติในพัฒนาการของสมอง (neural tube defect) จะสามารถตรวจพบ AFP ในเลือดของมารดาและในน้ำคร่ำได้สูงกว่าระดับที่พบในหญิงตั้งครรภ์ปกติที่มีอายุครรภ์เท่ากันถึง 2-3.5 เท่า 

อาหารบำรุงครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์

มดลูกขยาย น้ำคร่ำในรกเพิ่มขึ้นเป็น 200-250 ซีซีแล้ว อาหารกลุ่มวิตามินซี จะช่วยเพิ่มคอลลาเจนรวมส่งผลให้เซลล์ยึดติดกันเหนียวแน่นดีขึ้น วิตามินซีนอกจากจะช่วยให้กระดูกและฟันของลูกรักแข็งแรงแล้ว ยังช่วยบำรุงผิวพรรณของคุณแม่ให้ดูผ่องกระจ่างใสด้วย คุณแม่อย่าลืมทาโลชั่นที่ผิวหน้าท้องและเรื่อนร่างนะคะ เพื่อลดและป้องกันการแตกลายของผิวค่ะ
 
 

การดูแลครรภ์ เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องต้องใส่ใจ คุณแม่ควรติดตามและสังเกตอาการผิดปกติในแต่ละวัน หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ โดยด่วน  และควรปฏิบัตตนตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ครรภ์คุณภาพไม่มีขายสร้างได้ด้วยคุณแม่เอง 

อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร 

คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

3 สัปดาห์

4 สัปดาห์

5 สัปดาห์

6 สัปดาห์

7 สัปดาห์

8 สัปดาห์

9 สัปดาห์

10 สัปดาห์

11 สัปดาห์

12 สัปดาห์

13 สัปดาห์

14 สัปดาห์

15 สัปดาห์

16 สัปดาห์

17 สัปดาห์

18 สัปดาห์

19 สัปดาห์

20 สัปดาห์

21 สัปดาห์

22 สัปดาห์

23 สัปดาห์

24 สัปดาห์

25 สัปดาห์

26 สัปดาห์

27 สัปดาห์

28 สัปดาห์

29 สัปดาห์

30 สัปดาห์

31 สัปดาห์

32 สัปดาห์

33 สัปดาห์

34 สัปดาห์

35 สัปดาห์

36 สัปดาห์

37 สัปดาห์

38 สัปดาห์

39 สัปดาห์

40 สัปดาห์

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มคุณแม่แชร์ไอเดีย

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team 

อ้างอิง :

1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า37 .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส

2.Your pregnancy: weeks . เข้าถึงได้โดย https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-16-weeks_1105.bc . [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]

3. weeks pregnant - what to expect.เข้าถึงได้โดย https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/16-weeks-pregnant-what-to-expect. [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]

4. Alpha-Fetoprotein (AFP) เข้าถึงได้โดย http://m.siamhealth.net/lab/tumor/afp.html . [ค้นคว้าเมื่อ 28 ตุลาคม,2560]

  • No tag available