พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน แม่ท้อง 6 เดือนลูกเป็นอย่างไร

16 May 2018
32022 view

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน

ในระยะนี้คุณแม่จะรู้สึกว่า น้ำหนักของคุณแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รู้สึกหิวมากกว่าปกติ มดลูกอาจมีการหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนอยู่เป็นระยะ แต่ไม่มีอาการเจ็บหรือปวดครรภ์ มดลูกของแม่ตั้งครรภ์จะขยายใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังหน้าท้อง ที่เรียกว่าหน้าท้องลาย จะมีอาการคันตามมา ในช่วงเดือนนี้ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ เช่น การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการครรภ์เป็นพิษ หรือการอักเสบติดเชื้อรา จะพบได้ง่ายมาก และการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยขึ้น ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ด้านการเจริญเติบโต

ช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 6 ทารกในครรภ์เริ่มลืมตาได้ ผิวหนังเริ่มหนาขึ้นเล็กน้อย ถุงลมในปอดพัฒนาสมบูรณ์ ผมและเล็บเท้าจะเริ่มงอก สมองจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทเริ่มทำงาน ในเด็กหญิงจะเริ่มสร้างไข่ในรังไข่ ลายนิ้วมือนิ้วเท้าเริ่มเห็นชัด หน้าตาของทารกชัดเจน แต่ผิวหนังของทารกยังคงบางอยู่จะเห็นเป็นสีออกแดงระเรื่อและดูเหี่ยวย่น เนื่องจากยังมีไขมันมาสะสมตามร่างกาย ต่อมเหงื่อได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้ผิวหนัง ทารกจะมีขนาดความยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 700-800 กรัม ทารกจะได้ยินเสียงหัวใจแม่ เสียงอื่นๆ และดนตรี อาจจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระทำของแม่ ถ้าทารกคลอดก่อนกำหนดในเดือนที่ 6 นี้ โอกาสในการรอดยากมาก

ภาพพัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ของแต่ละสัปดาห์

คลิปพัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน

การเสริมสร้างพัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน

คุณแม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการทารกในครรภ์ได้โดยการนำแก้วหรือขวดน้ำอุ่นสลับกับน้ำเย็นวางบริเวณหน้าท้อง หรือเมื่อคุณแม่อาบน้ำ ให้คุณแม่ใช้ผักบัวฉีดบริเวณหน้าท้อง(น้ำร้อน-น้ำเย็น)สลับกันไปมาใช้เวลาทำประมาณ 3-5 นาที เพื่อเป็นการพัฒนาเซลล์ประสาทส่วนรับรู้ความรู้สึกร้อนหนาว และเป็นการปรับสภาพให้ลูกน้อยในครรภ์ชินกับความเย็นทีละน้อย เมื่อแรกคลอดลูกจะได้ชินกับอุณหภูมิโลกที่เย็นกว่าในมดลูกค่ะ ทีสำคัญแม่ตั้งครรภ์ในช่วงเดือนนี้ ต้องดูแลสุขภาพให้เป็นพิเศษ ควรระวังอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด เมื่อคุณแม่มีอาการที่แสดงว่าอาจคลอดก่อนกำหนด คือ มีการบีบตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เลือดออกจากช่องคลอด มีน้ำเดิน ปวดท้อง ท้องแข็งตึง ลูกดิ้นน้อย ถ้ามีอาการเหล่านี้เกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ควรไปพบแพทย์ทันที

พัฒนาการทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน

คุณแม่สามารถคลิกเลือกได้เลยค่ะ....

พัฒนาการทารกในครรภ์1เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์2เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์3เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์4เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์5เดือน


พัฒนาการทารกในครรภ์6เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์7เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์8เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์9เดือน

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

กลุ่มคุณแม่แชร์ไอเดีย



เรียบเรียงโดย :
 Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง

1.BabyCenter.Fetal development week by week.เข้าถึงได้จาก https://www.babycenter.com/fetal-development-week-by-week .[ค้นคว้าเมื่อ 16 มีนาคม 2561]

2.Mummy Center.6nd Month of Pregnancy – Definitive Guide For Pregnancy Month 6 .เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=592moOr8QUk .[ค้นคว้าเมื่อ 16 มีนาคม 2561]

3.26weeks pregnant .เข้าถึงได้จาก https://www.pregnancycorner.com/being-pregnant/pregnancy-week-by-week/26-weeks-pregnant.html .[ค้นคว้าเมื่อ 16 มีนาคม 2561]