อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก เทคนิคเด็ดที่คุณแม่ไม่ควรพลาด

05 March 2018
94970 view

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก

เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มักมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดู ลูกรับประทานน้อย และไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือรับประทานไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทั้งในเรื่องปริมาณและคุณค่า ตามใจลูกมากเกินไปเป็นเหตุให้คุณพ่อคุณแม่หนักใจกลัวลูกจะน้ำหนักน้อย ดังนั้นอาหารเพิ่มน้ำหนักลูก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มักมีสาเหตุจาก

  • การเลี้ยงดู เด็กรับประทานน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือรับประทานไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและ คุณค่า เนื่องจากความไม่รู้ หรือตามใจเด็ก
  • ภาวะเจ็บป่วยของร่างกาย อาจมีโรคเรื้อรังหรือปัญหาของความพิการแต่กำเนิด ทำให้การเจริญเติบโตช้า เช่นโรคหัวใจ
  • การพักผ่อน นอนหลับไม่เพียงพอ นอนดึก

วิธีช่วยเพิ่มน้ำหนักลูก

ลูกมีน้ำหนักตัวน้อยเป็นที่หนักใจของคุณแม่ มาดู 4 เทคนิควิธีที่ช่วยคุณแม่ในการเพิ่มน้ำหนักลูกว่ามีอะไรบ้าง

1. สังเกตอาหาร กลุ่มของอาหารที่ลูกกินนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากแค่ไหน เช่น เนื้อ นม ไข่ ไม่เพียงพอก็ทำให้ลูกผอมได้ รวมถึงปริมานอาหารก็ต้องพอดีกับการใช้พลังงานด้วย

2. ปรับวิธีการปรุง สำหรับเด็กที่น้ำหนักน้อย คุณแม่อาจเปลี่ยนจากการต้มตุ๋นอาหารมาเพิ่มเมนูผัด หรือทอดบ่อยขึ้น  แต่คุณแม่ควรระวังเรื่องระบบย่อยของลูกด้วยนะคะ

3. เพิ่มส่วนผสม การเพิ่มส่วนผสมของอาหารที่ทำให้ลูกกินด้วย เช่น นม เนยสด แป้ง หรือน้ำตาลบ้าง ก็จะช่วยเพิ่มน้ำหนักลูกได้

4.จัดอาหารมื้อว่าง การจัดมื้ออาหารว่าง เช่น แซนด์วิชง่าย ๆ กับนม หรือเครื่องดื่มปั่นที่มีส่วนผสมของนมหรือน้ำหวาน ก็จะเป็นการเติมพลังงานที่เสียไประหว่างมื้อให้ลูกได้

8 วัตถุดิบในการประกอบอาหารเพิ่มน้ำหนักลูก

นอกจากวิธีการปรุงอาหารแล้ว การเลือกวัตถุดิบมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ก็มีความสำคัญต่อน้ำหนักลูกเช่นกัน เพื่อให้คุณแม่เพิ่มน้ำหนักลูกได้จากสารอาหารประเภทแป้ง และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ

1. นมสดครบส่วน หรือนมที่ลูกกินเป็นประจำ เพราะเป็นนมที่มีไขมันสามารถนำมาประกอบอาหารได้
2. ปลาไขมันสูง เช่น ปลาอินทรี ปลาดุก ช่วนในเรื่องของการสร้างไขมันได้ดี
3. ถั่วต่าง ๆ โดยเฉพาะถั่วลิสง มีประโยชน์ช่วยเสริมสร้างพลังงานได้ แต่ไม่ควรกินมากเกินไปจะทำให้ท้องอืดได้ค่ะ
4.ไข่ อาหารสารพัดประโยชน์ที่เพิ่มพลังงานให้ลูก
5.ผักที่มีแป้งมากและให้พลังงานสูง เช่น ข้าวโพด ฟักทอง มีแป้งมากและให้หลังงานสูง
7.ผลไม้สดต่างๆ นอกจากเมนูอาหารหลักแล้ว ผลไม้ก็สามารถทำเป็นของว่างเพิ่มพลังงานระหว่างวันได้ดี แถมยังมีประโยชน์อีกด้วย

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกน้อยวัย 6-12 ปี

ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละมื้อ ประกอบด้วย

  • ข้าว 2-3 ทัพพี
  • เนื้อสัตว์ 2 ช้อนกินข้าว หรือไข่ (ไข่เป็นโปรตีนคุณภาพ เด็กน้ำหนักน้อยควรทานวันละ 1 ฟอง)
  • ผัดผัก 1 ทัพพี
  • ผลไม้ เช่น ส้ม 1 ผล หรือกล้วย 1 ผล หรือมะละกอ 4-5 ชิ้น หรือผลไม้อื่นๆ
  • นม 1 แก้ว

ถ้าลูกรับประทานอาหารได้น้อย ให้แบ่งย่อยมื้ออาหาร อาจชวนลูกให้มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร ให้ลองชิม นั่งรับประทานพร้อมกับพ่อแม่อย่างสนุก พาลูกไปออกกำลังกาย วิ่งเล่น เมื่อลูกใช้พลังงานจะทำให้หิว รับประทานได้มากขึ้น ไม่ควรให้ลูกรับประทานขนมกรุบกรอบ ลูกอมทอฟฟี่ หรือนม ก่อนมื้ออาหาร เพราะจะทำให้ลูกอิ่มเร็ว และรับประทานอาหารมื้อหลักน้อยลง

เพียงแค่ลองสังเกตและปรับเปลี่ยนอาหารของลูกแล้ว การดูแลให้ลูกนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอมีส่วนสำคัญในการเพิ่มน้ำหนักและส่วนสูงให้ลูกๆ ควบคู่ไปกับความแข็งแรงของร่างกาย และที่สำคัญ ความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ลูกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีน้ำหนักตามเกณฑ์ได้

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. น้ำหนักเด็กแรกเกิด-12 เดือนควรขึ้นเดือนละกี่กรัม  แม่ต้องเช็ค

2. 7 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการกินและน้ำหนักลูก

3. สาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเล็กกว่าเกณฑ์ น้ำหนักขึ้นช้า

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง :

1. มหาวิทยาลัยมหิดล  คณะสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาโภชนวิทยา.รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงชุติมา ศิริกุลชยานนท์.ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยหนักน้อย.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/xkgpii .[ค้นคว้าเมื่อ 4 มีนาคม 2561].

2. มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย.ลูกไม่ยอมกินข้าว ตัวเล็ก น้ำหนักน้อย.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/WSeipu .[ค้นคว้าเมื่อ 4 มีนาคม 2561].