ทำไมผู้หญิงที่มีคู่นอนต้องตรวจ แปปสเมียร์ ( pap smear )

01 March 2016
7172 view

แปปสเมียร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แปปสเมียร์

ทุกประเทศทั่วโลก รณรงค์ให้ผู้หญิง ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้ว โดยเฉพาะคนที่มีคู่นอนหลายคน เข้ารับการตรวจ แปปสเมียร์ ปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ผู้หญิงทุกคนต้องตื่นตัวแล้วค่ะ เพราะวันนี้มะเร็งปากมดลูกได้คุกคามชีวิตของผู้หญิงเรา นาทีละหลายต่อหลายคน เปรียบดั่งใบไม้ร่วง การป้องกันมะเร็งร้ายมาเยือนช่องคลอดที่ดีที่สุดอีกวิธีคือการตรวจ แปปสเมียร์ ตรวจก่อน เจอก่อน รักษาทันเวลา วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการตรวจ“แปปสเมียร์” กันค่ะ

แปปสเมียร์คืออะไร

แปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้

ใครบ้างควรปรึกษาสูตินรีเเพทย์เพื่อตรวจ แปปสเมียร์

ผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้วควรได้รับการตรวจ แต่คนที่มีความเสี่ยงมากกว่าคือผู้หญิงที่มากคู่นอน โดยสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำแนวทางการตรวจ

แปปสเมียร์ ดังนี้
  • กลุ่มผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ขึ้นกับว่าเวลาใดถึงก่อน ควรเริ่มทำการตรวจแปปสเมียร์ และหลังจากการตรวจครั้งแรกควร ตรวจทุก 1-2 ปี
  • กลุ่มผู้หยิงที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจแปปสเมียร์ทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจแปปสเมียร์ทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อ HIV ติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) มีโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีมารดาที่ใช้ยา diethylstilbestrol ขณะตั้งครรภ์ ต้องทำการตรวจแปปสเมียร์ทุกปี
  • กลุ่มผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป หากมีผลการตรวจเป็นปกติ 3 ปีติดต่อกัน ไม่มีผลการตรวจที่ผิดปกติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และไม่มีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก อาจยกเลิกการตรวจแปปสเมียร์ได้
ผู้หญิงหลายคน ไม่ใส่ใจสุขภาพ กว่าจะตรวจพบ มะเร็งปากมดลูกก็ลุกลามแล้ว

เตรียมตัวอย่างไร ก่อนไปตรวจแปปสเมียร์

เมื่อคุณพบสูตินรีแพทย์แล้ว อาจตรวจได้ในวันนั้นเลย หรือ เเพทย์อาจนัดวันเวลาใหม่ เพื่อตรวจอีกครั้ง การเตรียมตัวที่ถูกต้องมีดังนี้ 

  1. แพทย์จะนัดตรวจแปปสเมียร์ในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
  2. ห้ามสวนล้างช่องคลอดก่อนการตรวจ ( และไม่ควรสวนล้างช่องคลอดในทุกๆวัน เป้นการทำความสะอาดที่ผิดวิธี )
  3. ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด
  4. ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง งดการมีเพศสัมพันธ์

คลิปขั้นตอนการตรวจ แปปสเมียร์ ( pap smear )  ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ถึงเวลาแล้วที่ผู้หญิงไทย ควรหันมาใส่ใจสุขภาพ ตรวจก่อน เจอก่อน รักษาก่อน รอดชีวิตแน่นอนจากโรคติดเชื้อทางเพศสัมพัน และโรคมะเร็งปากมดลูกซึ่งสาเหตุการตายอันดับต้นๆของหญิงไทย  ปีนี้วางแผนหาวันไปตรวจกันนะคะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. มะเร็งเต้านม

2. ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน

3. 8 เคล็ดลับ เพื่อสุขภาพของเต้านม ผู้หญิงต้องรู้

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team