กู้น้ำนมแม่ ด้วย5สเต็ปเทพสำเร็จแน่นอน

02 July 2015
179563 view

กู้น้ำนม

วิธีกู้น้ำนม ย้ำกู้น้ำนม… ทำได้จริงถ้าใจแม่สู้

คุณแม่หลายๆคนอยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่มีหลายปัจจัยที่เข้ามาทำให้เกิดความล้มเหลวในการให้นมลูก  การล้มเหลวจากความตั้งใจจริงที่จะสู้เพื่อลูกในคุณแม่ที่ร่างกายปกตินั้น ถือเป็นการล้มละลายครั้งยิ่งใหญ่ เพราะลูกอดที่จะได้รับสิ่งมีค่าที่สุดที่เเม่อย่างเรามีอยู่และมอบให้เขาได้ แต่ทำไมแม่ไม่ให้ … คุณแม่หลายคนเข้ามาอ่านเจอบทความนี้เเล้ว เกิดใจสู้ขึ้นมา อยากให้นมลูกอีกครั้ง Mama Expert เชื่อว่าคุณสามารถทำได้ เทคนิคกู้น้ำนมให้ไปถึงเส้นชัยตามนี้เลยค่ะ

1.กู้น้ำนม พร้อมหรือไม่ … อุปสรรคอยู่ที่ใจแม่แล้ว

ถามตัวเองก่อนว่าพร้อมหรือไม่ การทำครั้งนี้ทำเพื่อลูก คุณทำได้หรือไม่???  การทำครั้งนี้ต้องใช้เวลานาน และอาจถูกบั่นทอนจิตใจจากเสียงร้องของลูก คุณย่าคุณยายบ่นว่าทรมานลูก ไม่ยอมให้กินนมผง หรือเสียงจากคนรอบข้าง ต่างๆนา ๆที่มีผลต่อความรู้สึก คุณสามารถจัดการกับคลื่นรบกวนเหล่านั้นได้หรือไม่ ใจสู้หรือเปล่า ถามตัวเองก่อนนะคะ ถ้าคำตอบของคุณคือ ได้แน่นอน เราไปต่อข้อที่2เลยค่ะ

2.กู้น้ำนมสำเร็จได้ด้วยคาถา 4 ดูด 

เทคนิคพื้นฐานที่ขลังเสมอ คือ ดูดดี  ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี และดูเกลี้ยงเต้า คาถา 4ดูด ที่ทำซ้ำๆแล้วนมแม่มาแน่นอน ในระหว่างที่น้ำนมแม่ยังไม่มา กรณีลูกอายุหลายเดือนแล้วกลับมากู้ คุณแม่ต้องทำการเสริมนมตามความต้องการของร่างกาย และเมื่อถึงเวลากินนมก็ให้ลูกเข้าเต้าก่อนเสมอ สำหรับคุณแม่หลังคลอด 48 ชั่วโมงเเรก ทารกเขาพกปิ่นโตมาจากในท้องแม่ คือ สารอาหารที่ได้ผ่านรกก่อนคลอดสามารถนำมาใช้ได้หากแม่ยังไม่มีน้ำนม 48ชั่วโมงแรกของชีวิต ลูกสามารถใช้พลังงานสระสมจากส่วนนั้น ยังไม่ดื่มอะไรเลยก็ได้ อย่าใจอ่อนนะคะ ใจเเข็งไว้ไม่เกินวันที่ 3สำหรับแม่หลังคลอดที่ทำตามเทคนิคนี้นมแม่หยดให้เห็นแน่นอน

3. กู้น้ำนมต้องหาตัวช่วย 

หลังจากทำตามข้อที่2แล้ว น้ำนมยังไม่ซึมเลย ผ่านพ้นไปนานหลายวันแล้ว คุณแม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วย โดยปรึกษาสูติแพทย์ เกี่ยวกับการใช้ยากระตุ้นน้ำนม เช่นดอมเพอริโดน (หากไม่มีผลข้างเคียงหรือแพ้ยา) 2 เม็ด ทุก 6 ชม. และหรือ ยาประสระน้ำนม  fenugreek  ลูกซัด สมุนไพรเพิ่มน้ำนมต่างๆ ระหว่างที่รับประทานยาช่วย คุณแม่ยังคงต้องทำตามข้อสองอย่างสม่ำเสมอ เพราะการกระตุ้นให้นมนมไหลได้ดีที่สุดคือการใกห้ลูกดูดนมจากเต้า คุณแม่หลายคนอ่านมาถึงจุดนี้แล้วสงสัยใช่ไหมคะว่า การปั๊มนมล่ะ ทดแทนได้ไหม ในคุณแม่ที่ทำการกู้น้ำนมแนะนำให้ลูกดูดเองดีกว่า การปั๊มนมกลไกแตกต่างจากการดูดของลูกโดยสิ้นเชิง

4. กู้น้ำนม ในวันที่หยุดไปนานลูกติดจุกเสียแล้ว

กรณีหยุดไปนานลูกไม่ดูดเต้าแล้วกู้อย่างไร ข้อนี้คุณแม่ทำการกูน้ำนมได้ตามปกติแต่จะใช้เวลานานกว่าคุณแม่ที่ลูกยอมดูดเต้า คุณแม่กลุ่มนี้ต้องอาศัยเครื่องปั๊มนม และต้องขยันป๊ำ เฉลี่ย ทุก 2-3 ชั่วโมงทั้งกลางวันกลางคืนถึงจะได้ผล และต้องอดทนรอ คุณแม่ที่ลูกไม่ยอมดูดเต้า ต้องได้รับยากระตุ้นน้ำนม ตามคำแนะนำข้อ 3 ร่วมกับการปั๊มสม่ำเสมอและต้อง ต้องใช้เวลาน 2 – 3 สัปดาเลยทีเดียวกว่าจะได้น้ำนมหยดแรก เมื่อมีน้ำนมซึมๆให้เห็น แนะนำให้คุณแม่ใช้จุกนมซิลิโคนคลอบหัวนมแล้วให้ลูกดูด ที่ต้องทำเช่นนีเพราะจุกนมซิลิโคนมีลักณะคล้ายกับจุกนมที่ลูกดูดจึงเป็นการง่ายที่ลูกจะยอมดูดเต้า เพราะอย่างน้อยมีน้ำนมซึมให้โดนลิ้นลูกบ้าง ทำให้ลูกดูดอย่างต่อเนื่อง พอถึงจุดนี้แล้ว ก็เข้าสู่เทคนิคนี้เลยค่ะ ดูดดี ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี และดูดเกลี้ยงเต้า 


76887113329c-horz

5. เมื่อภาระกิจกู้น้ำนมสำเร็จแล้ว … ยังไม่เสร็จสิ้น 

ยังไม่จบนะคะเพราะน้ำนมแม่สามารถลดลงได้ เทคนิคที่คุณแม่ต้องทำต่อจากนี้คือ ทำอย่างไรให้น้ำนมแม่คงอยู่ หรือเพิ่มขี้น อาชีพแม่ไม่ง่ายเลยจริงๆเนอะ

กู้น้ำนม เพิ่มน้ำนมแม่ ด้วยเทคนิคหลายประการตามนี้ 

1. กู้น้ำนมสำเร็จด้วยการดูด

ดูดดี ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ดูดเกลี้ยงเต้า ใช้ได้ตลอดกาล

2. กู้น้ำนมสำเร็จด้วยการพักผ่อน

การพักผ่อนสำหรับแม่ลูกอ่อนทำยากนะคะที่จะให้นอนครบ 8 ชั่วโมงเพราะลูกนั้นแสบซ่าเหลือเกิน แม่จำเป็นต้องหลับพร้อมเจ้าแสบ ลูกหลับแม่ก็รีบเลยค่ะ

3. กู้น้ำนมสำเร็จด้วยอาหาร

บำรุงเข้าไปอย่าเกรงใจเอวค่ะ อาหารเพิ่มน้ำนมได้แก่ บวบ กุยช่าย กะเพรา ขิง น้ำเต้าหู้ คะน้า ฟักทอง หัวปลี  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นสมุนไพรข้างต้นค่ะ

4.กู้น้ำนมให้สำเร็จด้วยอารมณ์

อารมณ์ต้องดี อย่าเครียด เพราะเมื่อไหร่ที่เครียดสมองหลั่งฮอร์โมน มาขัดขวางการหลั่งน้ำนมทันที

ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับอาชีพแม่อย่างเรา แต่ไม่เกินความสามารถของคนเป็นแม่ด้วยเช่นกัน Mama Expert ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านที่มีความตั้งใจจริงที่จะมอบสิ่งดีๆให้กับลูกรักค่ะ … นมแม่แน่อยู่แล้ว สู้ต่อไปนะคะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. ทำอย่างไรเมื่อน้ำนมมาน้อยลูกดูดนมไม่อิ่ม

2. ปัญหาที่เกิดกับแม่เลี้ยงลูกด้วยนมและวิธีป้องกัน

3. ท่าให้นมลูกแต่ละท่ามีข้อดีต่างกันอย่างไร

เรียบเรียงโดย : นฤมล เปรมปราโมทย์ พยาบาลวิชาชีพ