การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ Nonstress Test ที่แม่ท้องต้องรู้!!!

07 September 2014
21700 view

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ Nonstress Test

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์เป็นสิ่งที่จะช่วยยืนยันว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ปลอดภัย ไม่มีภาวะคับขัน ที่ทำให้เกิดการตกเลือดก่อนคลอด จำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังและตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการตรวจ Nonstress Test ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีรายละเอียดตามนี้...

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ Nonstress Test

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ Nonstress Test หรือ NST คือ การตรวจสุขภาพของทารกทารกในครรภ์อายุมากกว่า 28 สัปดาห์ ผู้ทำการตรวจคือพยาบาลแผนกฝากครรภ์ หรือแผนกคลอด จะขึ้นอยู่กับอาการที่ไปพบแพทย์ อาศัยหลักการการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ สูติแพทย์จะเป็นผู้แปรผลการตรวจ วิธีการตรวจจะใช้เข็มขัดรัดที่หน้าท้องของคุณแม่ เพื่อฟังหัวใจของทารก การบีบตัวของมดลูกและการดิ้นของทารก  โดยจะวัดนาน 20-30 นาที

ขั้นตอนการตรวจ Nonstress Test 

  1. สูติแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญจะทำใน 6 – 8 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์
  2. แพทย์จะทำการตรวจในช่วงเวลาที่ทารกมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดของแต่ละวัน (เช่นหลังจากมารดา รับประทานอาหาร 1-2 ชั่วโมง)
  3. วิธีการตรวจ ไม่เจ็บ พยาบาลประจำห้องตรวจจะติดตัวรับสัญญานที่ผนังหน้าท้องของมารดาสองจุดคือที่ ส่วนยอดของมดลูก และบริเวณที่สามารถได้ยินหัวใจของทารกเต้น พยาบาลประจำห้องตรวจจะแนะนำมารดาให้คุรแม่ตั้งครรภ์กดปุ่มของเครื่องตรวจถ้ารู้สึกถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ เครื่องมือจะบันทึกการเต้นของหัวใจของทารกเป็นเวลา ประมาณ30 นาที ผลจะแสดงเป็นรูป กราฟ และเมื่อคุณแม่กดปุ่มผลของการตรวจก็จะถูกแปลตามสภาวะนั้น

การแปลผล Nonstress Test

ผลการตรวจเป็น Reactive : หมายถึงทารกในครรภ์เคลื่อนไหวอย่างน้อยสองครั้งใน 20 นาที ในสองครั้งที่ทารกมีการ เคลื่อนไหวอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นอีก ~15 ครั้งต่อนาทีและสูงขึ้นอย่างน้อย 15 วินาที

ผลการตรวจเป็น Nonreactive : หมายถึง ทารกในครรภ์ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือ ไม่มีการเพิ่มขึ้นของการเต้นของหัวใจ ในระหว่างที่ทำบ่อยครั้งในการตรวจที่จะได้ผล Nonreactive เนื่องจากทารกไม่มีการเคลื่อนไหวเพียงพอ ที่เครื่องจะทำการอ่านผลได้ แพทย์จะทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อเด็ก Active มากขึ้น แต่ถ้าผลยังคงเป็น Nonreactive ก็จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์แบบที่เรียกว่า Biophysical แต่ถ้าผลยังคงไม่ชัดเจนแพทย์ก็จะต้องทำ Contraction Stress Test (CST) และถ้าหากผลการตรวจแสดงว่าทารกมีสุขภาพไม่แข็งแรงแพทย์อาจแนะนำให้ ทำการคลอดก่อนกำหนด

แม่ท้องความเสี่ยงสูง ที่จะต้องรับการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ Nonstress Test

  1. เมื่อเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
  2. เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมาเช่น ทารกตายในครรภ์
  3. เมื่อมารดาสังเกตว่าทารกดิ้นน้อยลง
  4. เลยกำหนดคลอดแล้วยังไม่คลอด

คุณแม่ท้องที่มีความเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพครรภ์อย่างละเอียด หมั่นสังเกตความผิดปกติของสุขภาพครรภ์ เมื่อมีความผิดปกติอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์และสุขภาพของคุณแม่เองค่ะ 

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์

2. อาหารบำรุงครรภ์ตลอด40สัปดาห์

3. ยาบำรุงครรภ์ลดความพิการของทารก

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team