ภาวะหายใจลำบาก RDS โรคอันตรายในทารกที่ต้องระวัง

24 October 2023
239 view

ภาวะหายใจลำบาก RDS

.

.

พ่อแม่มือใหม่หลายคนที่กำลังตั้งครรภ์หรือมีทารกที่ต้องดูแล อาจจะเกิดความกังวลในเรื่องของ ภาวะหายใจลำบาก ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึงเลยก็ว่าได้ หลายคนอาจจะรู้จักและคุ้นเคยโรคนี้ดีในชื่อ RDS ซึ่งหลายคนก็คงสงสัยว่า RDS คืออะไร มีอาการอย่างไร จะดูแลรักษา และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับลูกน้อยได้อย่างไร วันนี้เราเลยมีข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะหายใจลำบาก คืออะไรมาฝาก จะเป็นอย่างไรนั้นเราไปดูกันเลยดีกว่า 

ภาวะหายใจลำบาก RDS คืออะไร

ภาวะหายใจลำบาก หรือ RDS คืออะไร เป็นภาวะความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจของทารกแรกเกิด โดยเป็นผลมาจากสารลดแรงตึงผิว ซึ่งก็จะมีหน้าที่ช่วยให้ถุงลมในปอดทำงานได้อย่างปกติในทารกมีปริมาณไม่เพียงพอ เนื่องจากปอดของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่และยังไม่แข็งแรงพอ ทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ซึ่งเมื่อเกิด ภาวะหายใจลำบาก  อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันจะพบมากในทารกคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ภาวะหายใจลำบาก ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะ RDS ได้ด้วย เช่น คนครอบครัวเคยป่วยด้วยอาการดังกล่าว มารดาเป็นโรคเบาหวาน การตั้งครรภ์แฝด และปัญหาจากการคลอดก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปสู่ทารกลดลง ด้วยเช่นกัน 

RDS มีอาการอย่างไรบ้าง

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่และหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อนว่า ภาวะหายใจลำบาก นั้นมีอาการเป็นอย่างไร แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกำลังมี ภาวะหายใจลำบาก ซึ่งอาการของโรคนี้ก็จะมีอาการที่แสดงออกมาให้เราได้สังเกตง่าย ๆ คือ  

  • อาการเริ่มแรกเลยก็คือ จะมีความดันต่ำลง เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตส่วนปลายเกิดความผิดปกตินั่นเอง 

  • อาการต่อมาที่เราสามารถสังเกตได้นั่นก็คือ จะหายใจเร็ว หายใจตื้น หายใจมีเสียงหวีด มีอาการหอบ และปีกจมูกบานขณะหายใจ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายเริ่มมีการหายใจได้ลำบากนั่นเอง 
  • ภาวะหายใจลำบาก อาการที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนคือ หน้าอกบุ๋ม หรือซี่โครงบริเวณหน้าอกยุบลงที่กำลังหายใจนั่นเอง 
  • อีกหนึ่งอาการที่เราสามารถสังเกตได้นั่นก็คือ จะมีริมผีปาก ปลายมือ และปลายเท้า เป็นสีม่วงคล้ำ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ร่างมีออกซิเจนไม่เพียงพอ 
  • อาการที่เริ่มรุนแรงมากขึ้นก็คือ จะมีการหยุดหายใจเป็นเวลาสั้น ๆ ซึ่งถือเป็นภาวะที่เริ่มรุนแรงและน่ากลัวเป็นอย่างมาก 
  • ปริมาณปัสสาวะลดลง นอกจากจะมีความดันต่ำลง หายใจลำบากแล้ว ก็ยังส่งผลทำให้มีปริมาณปัสสาวะที่ลดลงด้วยเช่นกัน 

วิธีการดูแลรักษาเมื่อทารกเป็นโรค RDS

ในการวินิจฉัยภาวะ RDS แพทย์จะตรวจสอบประวัติว่ามีการคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ ตรวจร่างกายร่วมกับการฟังเสียงปอด จากนั้นก็จะมีการเอกซเรย์เพื่อให้ได้ผลตรวจที่ชัดเจน หากผลเอกซเรย์ออกมาเป็นฝ้าขาว และมีลักษณะของการขยายปอดที่ไม่ดีร่วมกับมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย ผู้ป่วยจะต้องได้รีบการรักษาทันที โดยวิธีการดูแลรักษาเมื่อทารกเกิด ภาวะหายใจลำบาก มีดังต่อไปนี้ 

1. อาการไม่รุนแรง ถือเป็นอาการที่เด็กสามารถหายใจเองได้ในระดับหนึ่ง แพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจน จากนั้นเด็กจะค่อย ๆ ปรับตัวได้ และสามารถหายใจได้ดีขึ้น

2. อาการระดับกลาง เด็กที่มีภาวะหายใจลำบากค่อนข้างมาก จะใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก เพื่อดันอากาศและออกซิเจนเข้าไปในปอดของเด็ก เป็นการช่วยเปิดช่องอากาศภายในปอด ทำให้ปอดที่แฟบขยายตัว ร่วมกับการให้ออกซิเจนเพื่อให้ร่างกายเด็กแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดี พร้อมกับหายใจสะดวกขึ้นอีกด้วย

3. อาการระดับรุนแรงมาก ในกรณีที่ทารกไม่สามารถหายใจได้เอง หรือใส่เครื่องช่วยหายใจแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ 100% ทันที 

4. อีกหนึ่งการรักษาดูแลก็คือ การให้สารลดแรงตึงผิวของถุงลมทดแทน การรักษาภาวะปอดที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำได้ด้วยการพ่นสารลดแรงตึงผิวเพื่อให้ปอดขยาย และทำงานได้อย่างปกติ แต่แพทย์ก็จะใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทารกหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วย

ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

ภาวะ RDS อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จึงต้องระวังในเรื่องของอาการแทรกซ้อน หรือความผิดปกติอื่น ๆ ในระยะยาวดัวย เช่น เกิดอากาศสะสมบริเวณรอบหัวใจหรือทรวงอก และระวังมีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ที่สำคัญก็คือ ควรระวังการเกิดการแข็งตัวของเลือด ลิ่มเลือด

แนวทางการป้องกันโรคนี้

สำหรับแนวทางการป้องกัน ภาวะหายใจลำบาก สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ 

  • ดูแลตนเองอย่างเหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์ เน้นรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงการสูบบุหรี่ งดใช้สารเสพติด หรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ เช่น เจ็บท้องผิดปกติ มีมูกเลือดทางช่อง พบภาวะลูกดิ้นน้อยลง หรือคุณแม่มีไข้ เจ็บท้องน้อย ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองทันทีเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนั่นเอง 

แม้ว่าจะภาวะ RDS จะเป็นโรคที่น่ากลัว แต่หากคุณดูแลตนเองให้ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ ไปตลอดจนคลอดเรามั่นใจว่าลูกน้อยของคุณจะไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลายใจลำบากอย่างแน่นอน แต่กลับมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์มากกว่า อย่างไรก็ตามควรตระหนักถึงความเสี่ยงอยู่เสมอเพราะเราไม่รู้เลยว่าภาวะเสี่ยงต่าง ๆ นั้นจะเกิดขึ้นกับตัวเราเองหรือไม่ การป้องกันไม่ให้เกิดจึงเป็นเรื่องที่ดีกว่าอย่างแน่นอน

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. โรคหอบหืดในเด็ก อันตรายถึงชีวิต!!!

2. โรคหัดในเด็ก โรคร้ายๆ ที่พ่อแม่ต้องระวัง!!!

3. โรคไหลตายในเด็ก โรคอันตรายที่คร่าชีวิตลูก!!!

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team