การแท้ง คืออะไร อันตรายหรือไม่ ป้องกันอย่างไรดี???

25 April 2014
21802 view

การแท้ง

การแท้ง คือ การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กยังหนักไม่ ถึง 1,000 กรัม ซึ่งการแท้ง

การแท้งแต่ละประเภท

การแท้ง สามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ การแท้งเอง และการทำแท้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

การแท้งเอง

การแท้งเอง คือ การแท้งที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่จงใจจะให้เกิดการแท้ง เป็นความล้มเหลวของการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ สาเหตุของการแท้งเองอาจจะเกิดได้จากความบกพร่องของไข่ที่ผสมแล้ว หรือตัวอ่อน ความบกพร่องทางด้านมารดา เช่น มดลูกพิการ ปากมดลูกปิดไม่ดี หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง รวมถึงการกระทบกระเทือนเป็นสาเหตุของการแท้งด้วย

การทำแท้ง

การทำแท้ง หมายถึง การกระทำเพื่อให้เกิดการแท้ง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น การทำแท้งเพื่อการรักษาและการทำแท้งผิดกฏหมาย

  1. การทำแท้งเพื่อการรักษา เป็นการทำแท้งในกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ โดยกฎหมายได้ระบุไว้ชัดเจนว่า แพทย์สามารถทำแท้งได้ในกรณีเมื่อพิจารณาเห็นว่า หากปล่อยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตสุขภาพของมารดา เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเลือด โรคไตบางชนิด มารดาที่เป็นโรคจิตอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคจิตขณะตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจากการข่มขืนกระทำชำเราในผู้เยาว์ต่ำกว่า 15 ปี
  2. การทำแท้งผิดกฎหมาย หมายถึง การลักลอบทำแท้งโดยบุคคลที่มิใช่แพทย์ ไม่ว่าจะทำโดยเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้ง การทำแท้งโดยแพทย์ที่ทำ นอกเหนือข้อบ่งชี้ที่กฎหมายระบุไว้

ประเภทของการแท้ง

การแท้งเป็นสิ่งไม่คาดฝันและไม่อยากให้เกิดขึ้นในคุณแม่ที่ต้องการมีบุตร การแท้งมีหลายชนิดดังนี้ค่ะ

  1. การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณแม่จะมีเลือดออกทางช่องคลอดมากและปวดท้องน้อยเนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูก เมื่อปากมดลูกเปิดออก ตัวอ่อนจะแท้งออกมา
  2. การแท้งคุกคาม เป็นภาวะใกล้แท้ง พบได้ประมาณ 10% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด และครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้จะมีอาการแท้งตามมา คุณแม่จะมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย อาจไม่มีอาการปวดท้อง จึงทำให้คุณแม่สับสนได้ว่าเป็นประจำเดือน การรักษาการแท้งคุกคามคุณหมอจะให้การรักษาแบบประคับประคองเป็นหลัก ยังไม่มีวิธใดที่ได้ผลชัดเจน เนื่องจากส่วนใหญ่สาเหตุของการแท้งเกิดจากความผิดปกติของทารกเอง คุณหมอจะให้คุณแม่นอนพักมากๆ หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก เลี่ยงการเดินทาง งดการมีเซ็กซ์ เนื่องจากจะกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัวมากขึ้น และอาแท้งออกมาได้ คุณหมอบางรายอาจจะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่ายากันแท้ง โดยหวังว่าถ้าการแท้งนั้นเกิดจากการสร้างฮอร์โมนจากรังไข่ไม่เพียงพอ การให้ฮอร์โมนทดแทนจากภายนอกน่าจะรักษาให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปได้
  3. การแท้งเป็นนิจ การแท้งเป็นนิจมักมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากสิ่งเดียวกัน เป็นการแท้งติดต่อกันเกิน 3 ครั้งในช่วงอายุครรภ์ใกล้เคียงกัน การรักษาการแท้งเปป็นนิจหากเป็นสาเหตุจากตัวมดลูก เช่น มีเนื้องอก การผ่าตัดมดลูกก็เป็นวิธีรักษาที่จะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ตามปกติได้ แต่หากเป็นความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์จะต้องหาสาเหตุและหาทางป้องกันในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป การติดเชื้อบางอย่างซึ่งจะไม่ปรากฏอาการ รวมทั้งภาวะขาดอาหารและโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคปอด ทำให้เกิดการแท้งซ้ำได้ จึงควรรักษาให้ดีก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
  4. การแท้งซ้ำ คล้ายการแท้งเป็นนิจ แต่มักแท้งในช่วงอายุครรภ์ที่ต่างกัน และสาเหตุของการแท้งในแต่ละครั้งก็ต่างกันด้วย
  5. การแท้งสมบูรณ์ ตามธรรมชาติแล้วการแท้งมักจะสิ้นสุดลงด้วยตัวเอง ร่างกายจะขับทารกและรกที่อยู่ในโพรงมดลูกออกมาจนหมด คุณแม่จะปวดท้องน้อยและมีเลือดออกจนกระทั่งหยุดไปเอง จึงไม่จำเป็นต้องขูดมดลูก การรักษาการแท้งสมบูรณ์คุณแม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อขูดมดลูก เพราะยังมีสิ่งตกค้างอยู่ในโพรงมดลูกทำให้เลือดออกมาก ถ้าเสียเลือดมากคุณหมอจะให้เลือดทดแทน
  6. การแท้งไม่สมบูรณ์ คือการแท้งที่มีทารก รก และเนื้อเยื่อจากรกออกมาจากช่องคลอดครบทุกอย่าง มักมีอาการปวดท้องน้อยเป็นพักๆ ร่วมกับมีเลือดสดหรือก้อนเลือด ร่วมกับตัวทารกหลุดออกมาจากช่องคลอด หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะลดลงมาก และมีเลือดออกน้อยลง การรักษาการแท้งไม่สมบูรณ์เพียงแค่สังเกตปริมาณเลือดที่ออกถ้าออกมากขึ้นแสดงว่าแท้งไม่ครบ คุณหมอจะยุติการตั้งครรภ์ทันที โดยการขูดมดลูกเพื่อให้เลือดหยุดเร็วที่สุด และป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก เนื่องจากเศษรกค้างในโพรงมดลูก
  7. การแท้งค้าง ตัวอ่อนและเนื้อรกจะตายตกค้างอยู่ในโรงมดลูกโดยไม่แสดงอาการใดๆ นานนับเดือนก่อนที่จะแท้งออกมา ในช่วงที่เกิดการแท้งค้าง อาการต่างๆ ของการตั้งครรภ์จะหายไป และมีการแท้งบุตรตามมาภายหลัง บางรายอาจมีแคลเซียมมาห่อหุ้มทารกที่เสียชีวิตกลายเป็นก้อนหินปูนค้างอยู่ในโพรงมดลูกตลอดไปก็ได้ถ้าทิ้งไว้ก็ไม่อันตราย และคุณแม่จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก การรักษาการแท้งค้างหากตรวจพบว่าทารกเสียชีวิตแล้ว ถ้าคุณแม่ยังไม่แท้งเองภายในเวลาอันสมควร คุณหมอต้องขูดมดลูกเพื่อนำสิ่งตกค้างออกมา เพราะหากปล่อยไว้นานเกินหนึ่งเดือนอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเลือดไม่แข็งตัว

การแท้งสามารถป้องกันได้หรือไม่

วิธีป้องกันการแท้งบุตรที่ Mamaexpert ขอแนะนำ คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงที่สุดก่อนตั้งครรภ์ โดยการทานอาหารที่เน้นเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน งดสูบบุหรี่ และจัดการความเครียดต่างๆก่อนการตั้งครรภ์ และเมื่อตั้งครรภ์แล้วก็ต้องดูแลสุขภาพครรภ์อย่างต่อเนื่อง ติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์และเข้ารับการตรวจครรภ์ตรงตามที่แพทย์นัดเสมอ เพียงเท่านี้ ก็เป็นการป้องกันการเกิดการแท้งได้แล้วค่ะ

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอาการผิดปกติ เช่นเลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ปวดท้อง คุณแม่ควรรีบพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและทำกรรักษา อย่านิ่งนอนใจ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือ สุขภาพของทารกในครรภ์และสุขภาพของตัวคุณแม่เองค่ะ ด้วยรักและห่วงใย จากใจ Mamaexpert ค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ อันตรายหรือไม่? ต้องดูแลตนเองอย่างไร?

2. การดูแลสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่แม่ท้องต้องรู้

3. โรคอันตรายระหว่างตั้งครรภ์

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team