ยาฝังคุมกำเนิด ดีอย่างไร มีข้อเสียหรือไม่ ผู้หญิงควรรู้!!!

17 January 2014
10540 view

ยาฝังคุมกำเนิด

Contraceptive implant หรือ ยาฝังคุมกำเนิด  เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่ง โดยการฝังฮอร์โมนเพศหญิงที่ทำเป็นแท่งเล็กๆเข้าไปที่ใต้ผิวหนังใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนนี้จะค่อยๆซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ของสตรี ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ยาฝังคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่สะดวกสบาย ยาฝังคุมกำเนิดมีให้เลือดหลายระยะเวลาด้วยกันค่ะ เช่น  แบบคุมกำเนิดนาน 5 นาน 3 ปี

ยาฝังคุมกำเนิด มีกลไกการป้องกันการคุมกำเนิดอย่างไร

ออกฤทธิ์โดยฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจากแท่งยาฝัง จะไปมีผลทำให้ฟองไข่ไม่พัฒนา จึงไม่สามารถโตต่อไปจนตกไข่ได้ ทำให้ไม่มีไข่ที่จะรอผสมกับเชื้ออสุจิ จึงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนนี้ยังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้เชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปได้ยาก จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่ ยาฝังคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดดีมาก โอกาสการตั้งครรภ์น้อยกว่า 1 ใน 100 ของสตรีที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด

ยาฝังคุมกำเนิด มีข้อดีอย่างไร

  1. ยาฝังคุมกำเนิดสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา สะดวกสบาย
  2. ลดโอกาสลืมกินยา ไม่ต้องกินทุกวัน หรือต้องไปฉีดยาคุม กำเนิดทุก 3 เดือน ลดโอกาสฉีดยาคลาดเคลื่อนไม่ตรงกำหนด
  3. ไม่เป็นผ้า ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  4. มีประสิทธิภาพสูงในการคุมกำเนิด คุ้มราคา

ยาฝังคุมกำเนิด มีข้อเสียและผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง

  1. รอบเดือนมากะปริบกะปรอย พบมากที่สุด หรือไม่มีประจำเดือน หรือเกิดภาวะขาดประจำเดือน
  2. มีน้ำหนักตัวขึ้น
  3. มีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด
  4. เกิดการอักเสบบริเวณฝังยา หรือมีรอยแผลเป็น
  5. ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน
  6. มีอาการปวด/เจ็บเต้านม
  7. อาจทำให้ตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท้องนอกมดลูก) หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น
  8. อาจเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด
  9. ห้ามใช้ในผู้ป่วยกลุ่ม โรคตับ เพราะผลข้างเคียงของยาฝังคุมกำเนิด อาจส่งผลให้เกิดตับอักเสบเพิ่มขึ้นได้  มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งลุกลามแพร่กระจายมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆที่ไม่ทราบสาเหตุ เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้นมีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวในภาวะเลือดออก
  10. อาการที่ควรไปพบแพทย์ เช่น ปวดแขนที่ฝังยาผิดปกติ หรือ อักเสบ (แผลบวม แดง ร้อน) หรือ เป็นหนอง  หายใจลำบาก แน่นหน้าอก (อาการของการแพ้ยา ) ปวดศีรษะมากผิดปกติ  แขน ขา อ่อนแรง (อาจเป็นอาการของ ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หรือโรคทางสมอง )

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team