ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ผิดปกติไหม? ทำอย่างไรดี..

24 February 2018
23340 view

ลูกไม่ถ่ายหลายวัน

เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านกลุ้มใจเป็นอย่างมาก เมื่อลูกน้อยไม่ถ่ายมาหลายวัน กลัวว่าลูกน้อยจะเป็นอะไร แล้วจะมีวิธีไหนบ้าง ที่ทำให้ลูกกลับมาขับถ่ายปกติเหมือนเดิม Mama expert จึงนำความรู้เกี่ยวกับระบบขับถ่ายของทารกมาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ พร้อมกับมาไขข้อสงสัยว่าเหตุใดทารกไม่อึพร้อมวิธีช่วยให้ลูกถ่ายง่ายมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันค่ะมาดูกันเลย..

เพราะอึ สามารถบอกอาการ และอาจส่งผลต่ออารมณ์ของลูกน้อย หากการขับถ่ายของลูกผิดปกติ เราจะได้หาวิธีแก้ไขได้ทันที แค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ เช็กได้ทุกวัน มาเช็กกันเลย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทารกท้องผูก

ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ผิดปกติหรือไม่?

ทารกเเรกเกิด อายุ 1วัน 1สัปดาห์ 1 เดือนและ 1 ปี ย่อมมีการขับถ่ายที่แตกกต่างกันออกไป แปรผันตามกระบวนการทำงานของระบบขับถ่ายและสารอาหารที่ได้รับในแต่ละช่วงวัยการเจริญเติบโต การขับถ่ายที่ปกติเป็นอย่างไร รายละเอียดมาดูกันค่ะ

  • การขับถ่ายของทารก 1 วันขึ้นไป เมื่อแรกคลอดอายุ 1– 48 ชั่วโมงเด็กอาจไม่มีการขับถ่ายอะไรออกมาเลย หรืออาจมีเพียงปัสสาวะ นั้นไม่ใช่ภาวะผิดปกติแต่อย่างใด หากมีการขับถ่ายเกิดขึ้น จะเรียกว่า ถ่ายขี้เทา ขี้เทา หรือ Meconium เป็นอุจจาระครั้งแรกสุดของทารก 
  • การขับถ่ายของทารก 1 สัปดาห์ ขึ้นไป เมื่อการขับขึ้เทาผ่านไปเรียบร้อย ต่อมาเข้าสู่การขับถ่ายปกติแล้ว คุณแม่สังเกตได้ว่าลูกจะถ่ายออกสีเหลือง เหลืองปนเขียว หรือสีเขียว มีจุดๆคล้ายเม็ดมะเขือปน ล้วนแล้วแต่เป็นการขับถ่ายที่ปกติทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่า ดื่มนมแม่ หรือนมผง สีของอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปตามนมที่ดื่มด้วย ในช้่วง 1 สัปดาห์แรกการขับถ่ายจะบ่อย 5- 12 ครั้ง จำนวนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กัยการดื่มนมด้วย จำนวนครั้งจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
  • การขับถ่ายของทารก 1 เดือนขึ้นไป เมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 1 เดือนการขับถ่ายจะลดลงมาก เหลือวันละ 1 ครั้งเท่านั้นหรือ 2 ครั้ง ในเด็กที่ดื่มนมแม่อย่างเดียว เมื่ออายุมากขึ้นการย่อยและการดูดซึมดีขึ้น อาจทำให้ไม่ถ่ายทุกวัน บางคนนาน ถึง10 วันเลยทีเดียว หากลูกดื่มนมแม่ไม่ถ่ายหลายวันติดต่อกันอย่าตกใจเพราะนมแม่นั้นโมเลกุลเล็กทำให้ย่อยง่ายและลำไส้ดูดซึมได้เกือบทั้งหมด จนไม่เหลือเป็นกากให้ขับถ่ายออกมา ในเด็กที่ดื่มนมผงอาจมีปัญหาไม่ถ่ายได้ด้วยเช่นกัน ปกติ ไม่ถ่าย 2 วัน ยังไม่ต้องพบแพทย์แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีไม่ถ่ายแล้วมีอาการท้องอืด ปวดแต่เบ่งไม่ออก กรณีนี้ต้องพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
  • การขับถ่ายของเด็ก 1 ปี เมื่อเด็กอายุครบ 1 ปี การขับถ่ายเริ่มเหมือนวัยผู้ใหญ่แล้ว เด็กวัยนี้หากพูดได้เเล้วเหมาะที่จะฝึกการขับถ่ายโดยนั่งกระโถนหรือเข้าห้องน้ำได้แล้ว แต่ถ้าเด้กยังไม่พร้อมไม่ควรฝืน เด็ก 1ปี จะขับถ่ายวันละ 1 ครั้ง แนะนำให้ฝึกช่วงเวลาเช้า ปัญหาที่พบในเรื่องการขับถ่ายคือ ท้องผูกและท้องเสีย เนื่องจากเป็นวัยที่ได้รับอาหารที่หลากหลายมากขึ้น 

คุณพ่อคุณแม่ทราบว่า การขับถ่ายที่ปกติของเด็กในแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไรแล้ว เมื่อพบว่าลูกน้อยขับถ่ายผิดปกติ อย่าได้นิ่งนอนใจ ต้องรีบหาทางรักษา เพราะปัญหาเรื่องการขับถ่ายมีผลต่อสุขภาพอื่นๆของลูกน้อยด้วย เช่นกันกับ ปัญหาลูกไม่ถ่ายหลายวัน เป็นเรื่องที่ผิดปกติ(ยกเว้นเด็กที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว) ต้องรีบช่วยเหลือและรักษา Mama expert นำวิธีช่วยให้ลูกถ่ายเมื่อลูกของคุณพ่อคุณแม่ไม่ถ่าย มาฝากค่ะ มาดูกันเลย..

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทารกไม่ถ่าย กี่วันถึงเรียกผิดปกติ Mamaexpert

ลูกไม่ถ่ายหลายวัน ทำอย่างไรดี?

  1. ในกรณีที่เด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ยังไม่สามารถกินผักและผลไม้ได้ คุณแม่จึงต้องเป็นคนกินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ที่มีกากใยและช่วยระบาย โดยเฉพาะ มะละกอ มะขาม ส้ม ลูกพรุน รวมถึงดื่มน้ำมาก ๆ เพราะอาหารเหล่านี้สามารถส่งผ่านจากน้ำนมไปสู่ทารก ช่วยให้ลูกน้อยขับถ่ายได้ปกติค่ะ
  2. หากทารกมีอายุเกิน 6 เดือนแล้ว ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ รวมถึงให้กินผักและผลไม้ที่เหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
  3. เปลี่ยนสูตรนมผสมที่ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย
  4. การนวดท้องลูกเบาๆ จะช่วยให้ลูกขับถ่ายออกมาได้เร็วขึ้น
  5. การสวนอุจจาระ สำหรับลูกน้อยเราจะไม่แนะนำค่ะ เพราะการสวนก้นลูกเพื่อให้ถ่ายนั้นเป็นการรบกวนกระบวนการทำงานของลำไส้ให้ทำงานผิดปกติได้
  6. หากว่าคุณพ่อคุณแม่ทำทุกวิธีแล้ว ลูกน้อยก็ยังไม่ถ่ายอีก แนะนำให้รีบพาลูกน้อยไปปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุต่อไปค่ะ

การขับถ่ายของลูก โดยเฉพาะช่วงวัยทารกถึง 5 ขวบ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเอาใจใส่ เพราะว่าการขับถ่ายสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพเบื้องต้นของลูกน้อยได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน และสุขภาพของลูกให้ดีอยู่เสมอ หากลูกมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายควรปรึกษากุมารแพทย์ อย่างใกล้ชิด ไม่ควรสวนอุจจาระเอง หรือซื้อยารับประทานเอง เพราะลูกอาจได้รับยาในขนาดที่ไม่เหมาะสมเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ค่ะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. การขับถ่ายของทารก

2. ปัญหาเด็กท้องผูก

3. วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยถ่ายยาก

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง :

1. งานพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ.คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.เด็กท้องผูก.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/H6teFh .[ค้นคว้าเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2561]

2. Constipation in babies.เข้าถึงได้จากhttps://goo.gl/3QscYX.[ค้นคว้าเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2561]