7 ไม่ ... ที่ดีต่อใจแม่ แต่อาจไม่ดีต่อใจลูก

26 February 2017
7449 view

7 ไม่..ดีต่อใจแม่ แต่อาจไม่ดีต่อใจลูก 

บางครั้งคุณแม่คุณพ่อ ไม่ จนติดเป็นนิสัย เพราะความที่เป็นห่วงลูกมาก (เกินไป) นั่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ได้ ชีวิตเบบี๋ที่มีแต่ ไม่ ไม่ และไม่ นั้น มีผลต่อจิตใจลูกอย่างมาก และอาจมีปัญหาบุคลิกภาพตามมาได้  คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตตัวเองสิคะว่า คุณไม่ กับลูกจนเป็นนิสัยหรือไม่ 


1. ไม่ให้ทำ

แม่ทำเองลู๊กกก นั่นก็แม่ทำให้ นี่ก็แม่ทำเอง เพราะความที่รักมากไม่อยากให้ลูกต้องเหนื่อย เกิดจากความปราถนาดีล้วนๆ แม่ทำให้ดีต่อใจแม่ แม่มีความสุขให้เเม่ทำให้เถอะนะลูก บางครั้ง ก็เรื่องเล็กน้อย แม่ทำให้ลูกไม่ต้องจนลูกไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเอง เมื่อต้องใช้ชีวิเพียงลำพัง และอยู่ในสังมแบบไม่มั่นใจเพราะอะไรก็ทำไม่ได้ทำไม่เป็น

2. ไม่ปกป้อง

ไม่ปกป้องในที่นี้หมายถึงเรื่องความปลอดภัย  เพราะหลายยังมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น มีสถิติตัวเลขอุบัติเหตุสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการไม่ทันระมัดระวัง เช่น ไม่ให้ลูกนั่งคาร์ซีท   ไม่ระวังปลั๊กไฟ ไม่เก็บของมีคม อย่าลืมนะคะลูกไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้รอบด้าน สิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญ ไม่เป็นรองใคร

3. ไม่ยืดหยุ่น

คุณแม่ประเภทที่ต้องเป๊ะ  ติดเพอร์เฟค ลูกทำไม่ได้ดังใจ ก็โกรธก็ตำหนิ เพียงแค่เรื่องเล็กๆน้อยๆเท่านั้นแต่ตำหนิความผิดลูกเหมือนมากมาย การทำแบบนี้จะทำให้พัฒนาการที่ควรเป็นไปของลูก แย่ลงเพราะด้วยความรู้สึกผิดหวัง รู้สึกว่า ตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่มีอะไรดี ไม่มีความสามารถ ทำอะไรก็ไม่เคยถูกใจพ่อแม่ซักอย่าง

4. ไม่ยอมรับความจริง

ไม่ยอมรับว่าบางครั้งเกิดจากแม่เอง ไม่ยอมรับความจริงที่ลูกเป็น ณ ขณะนั้น

  • ลูกพัฒนาการไม่สมวัยโทษครู แต่ส่วนหนึ่งมาจากพ่อแม่ฝึกฝน
  • ลูกเรียนไม่เก่งโทษโรงเรียน แท้จริงมาจากฏรรมพันธุ์ อาหาร การฝึกฝน
  • ลูกน้ำหนักไม่ดีโทษลุกไม่กินข้าว แท้จริงแล้วคุณแม่ใส่ใจเรื่องสารอาหารที่ลูกได้รับในแ่ละวันหรือไม่ 

5. ไม่มีขอบเขต

เป็นคุณแม่ช่างตามใจตามใจทุกเรื่อง เพราะคิดว่าลูกยังเด็ก  โดยลืมสิ่งผิดสิ่งถูก อะไรควรไม่ควร ผลกระทบที่ตามมา คือ เมื่อลูกต้องออกสู่สังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กปรับตัวยาก เอาแต่ใจตัวเอง ขาดความอดทน ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนไม่ดี 

6. ไม่ชื่นชม

ไม่ชมเพราะกลัวลูกเหลิง ชีวิตของลูกมีแต่คำติ  อันนั้นก็ไม่ดี อันนี้ก็แย่ ทำไมไม่อย่างดน้น ทำไม่ไม่อย่างนี้ การที่ลูกถูกตำหนิอยู่ตลอด เป็นเหมือนอาวุธร้ายที่ทำร้ายจิตใจ ทำลายความคิดดีๆ ของลูก ทำลายพลังบวกขอลูก ทำให้ลูกของคุณขาดความมั่นใจ ขาดความภูมิใจ กลายเป็นเด็กที่ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง ความศรัทธราในตนเองต่ำ ไม่มั่นใจ 

7. ไม่เข้าใจลูก

เลี้ยงลูกโดยขาดความเข้าใจลูกตามวัย นับว่าเป็นปัญหาร้ายแรงที่คุณแม่ต้องปรับตัวเองให้เร็วที่สุด  คุณแม่กลุ่มนี้จะเฝ้าตามตัวเองเสมอว่า ทำไมลูกเราไม่อย่างงั้นนะ?? ทำไม่ลูกเราถึงไม่อย่างนี้นะ??  ทำไม่ต่างจากลูกคนอื่นๆนะ ??? ทำไม ทำไม ความเป็นจริงแล้ว เด็กแต่ละคนแตกต่างโดยสิ้นเชิง  เพราะกรรมพันธุ์ การเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง ทำให้ความสามารถแตกต่างกัน คุณแม่จึงไม่ควรเปรียบเทียบลูกกับคนนู้น คนนั้น เพราะเป็นการสร้างความรู้สึกต่ำต้อย ด้อยค่าให้เกิดขึ้นกับลูก ผลร้ายที่หนักกว่าคือ อาจทำให้เด็กรู้สึกเจ็บปวด ยอมแพ้ ละพยายามหรือเกิดความคิดสวนทางกลั่นแกล้งคู่แข่งของตัวเอง

การเลี้ยงลูกเหมือนการอ่านหนังสือ แต่ละบรรทัดคุณแม่ต้องอ่านทุกประโยคถึงจะเข้าใจ และควรอ่านไปทีละหน้า อย่าลัดบรรทัด เพราะอาจข้ามช็อตเด็ดไป การประติดประต่อเรื่องก็ขาดหายไปด้วย ดังเช่นการเลี้ยงลูก ลัดขั้นตอน ไม่ตามวัย จะให้ลูกได้ดั่งใจ โดยไม่ฝึกฝนไม่เข้าใจ ลูกจะเป็นลูกที่ดีดังใจแม่ เป็นลูกที่มีพัฒนาการตามวัยได้อย่างไร ปรับเสียตั้งแต่วันนี้ยังไม่สายค่ะ อย่าไม่ไปซะทุกเรื่องเลยนะคะ 

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. อาหารเสริมเด็ก 7 เดือน

2. แนวทางการพัฒนา EQ ในเด็กวัยต่างๆ

3. เทคนิคเสริมสร้างความจำง่ายๆ ให้ลูกสมองดี หัวไวพร้อมได้ภูมิคุ้มกัน

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team