อาการผิดปกติของทารกที่ควรรีบพบแพทย์ คุณแม่ต้องรู้

27 October 2017
9863 view

อาการผิดปกติของทารก 

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ อาจยังแยกไม่ออกว่า การเจ็บป่วย หรือ อาการบางอย่างของลูกน้อย เป็นอาการที่ต้องพบแพทย์ด่วนในทันที หรือเป็นอาการที่ควรพบแพทย์แต่ไม่ด่วน สามารถพบแพทย์ในวันถัดไปได้มีอะไรบ้าง วันนี้ Mamaexpert มีคำแนะนำเกี่ยวกับการสังเกตอาการของลูกมาฝาก จะได้ดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้องและพบแพทย์ได้ทันเวลา

อาการผิดปกติของทารกที่ควรรีบพบแพทย์ โดยด่วน  

ทารกซึมไม่ดูดนม  

ปกติเด็กแรกเกิดจะดูดนม ประมาณ 1-2 ออนซ์ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาดน้ำหนักตัวของเด็ก โดยปกติใช้เวลาในการกินนม ไม่เกินครึ่งชั่วโมง จากนั้นเด็กจะหลับไปแล้วตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ประมาณ 3 ชั่วโมงเพื่อกินนมอีก อย่างไรก็ดี ในกรณีกินนมแม่ เด็กอาจจะดูดบ่อยทุกๆ 1-2 ชั่วโมง และใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หากเกิดความผิดปกติ ลูกจะดูดนมได้น้อยลง ซึม หรือ ร้องกวน และจะใช้เวลาในการดูดนมนานกว่าปกติ หรือ ดูดนมแล้วมีอาการหอบเหนื่อย หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที 

เขียวขณะกินนม  

คุณแม่มือใหม่ขณะให้นมลูก ควรสังเกตใบหน้า สีหน้าของลูกว่าสีชมพูปกติดีหรือไม่ เพราะทารกบางกลุ่มมีอาการเหนื่อยหอบและรอบปากเขียวคล้ำ ซึ่งทารกกลุ่มนี้อาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน 

สะดือมีกลิ่นเหม็นและมีเลือดออก มีหนอง 

การดูแลสะดือต่อเนื่องจากโรงพยาบาลเป้นเรื่องสำคัญ ปกติแล้วสะดือจะแห้งและหลุดออกภายใน 5-10 วัน ไม่ควรมีกลิ่นเหม็น มีหนอง หรือมีเลือดออก(ยกเว้นเลือดซึม ๆ ก่อนสะดือจะหลุด) หลังอาบน้ำและทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเปื้อนสะดือ ควรทำความสะอาดสะดือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ไม่ควรใช้แป้งโรยบริเวณสะดือเด็ก ถ้าเกิดการอักเสบ บริเวณรอบ ๆ จะบวมแดง ควรรีบพาทารกพบแพทย์ด่วน

ท้องเสีย 

เป็นอาการผิดปกติของทารกทีแม่แยกยาก เพราะทารกจะถ่ายอุจจาระได้วันละหลายครั้ง ถ้าลักษณะอุจจาระหยาบมีเนื้อ แต่ถ้าอุจจาระเหลวปนน้ำ หรือมีมูกเลือดปนต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน การป้องกันภาวะท้องเสียเป็นสิ่งสำคัญ โดยเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา ถ้าจำเป็นต้องเลี้ยงนมผสมต้องเตรียมนมด้วยอุปกรณ์ที่สะอาด เลือกชนิดของนมที่ถูกต้อง ถ้าอาการมากอาจเกิดอันตรายถึงช็อกได้ วิธีแก้เมื่อเด็กท้องเสีย ให้หยุดกินนมชั่วคราวในกรณีที่เป็นนมผสม ถ้าเด็กกินนมแม่ให้ลดจำนวนน้อยลงให้ดูดน้ำต้มสุก หรือ อิแลคโตไลค์หลังงดนม 6-12 ชั่วโมง

อาการชัก

เป็นอาการผิดปกติของทารกที่เกิดขึ้นกับเด็กง่ายอาจเกิดจากไข้สูงหรือจากสาเหตุอื่น ๆ ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน อย่าตกใจ เพราะอาการที่เกิดเป็นอาการเตือนเท่านั้น ระหว่างพามาพบแพทย์ให้เด็กพักเงียบ ๆ ให้ความอบอุ่นแก่เด็ก ระวังการสำลัก โดยให้เอียงหน้าเด็กและหาผ้านิ่มม้วนแน่น ๆ สอดที่มุมปากเพื่อป้องกันการกัดลิ้น

อาการผิดปกติของทารกที่ควรรีบพบแพทย์  

อาการดังต่อไปนี้เป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กทารกแต่สามารถรอได้  คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการต่อเนื่องหากไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ 

ภาวะตัวเหลือง (Neonatal hyperbilirubinemia) 

อาการตัวเหลือง พบได้ทั่วไปในเด้กแรกเกิด เนื่องเกิดการสลายตัวของเม็ดเลือกแดง และเหลืองจากการทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์ ส่วนมากแล้วอาการตัวเหลือง พบในวันที่3หลังคลอด เป็นระยะเวลาที่คุณแม่และลูกยังอยู่ที่โรงพยาบาล แพทย์ จะตรวจเลือดดูปริมาณสารเหลือง หากพบว่าสูงจะให้ส่องไปจนกว่าเด็กจะมีผลเลือดปกติ แต่สำหรับเด็กที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว คุณแม่สังเกตว่า ผิวลูกเหลือง เหลืองเหมือนขมิ้น ควรพาลูกไปตรวจเช็คผลเลือดที่โรงพยาบาล   เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงจากอาการตัวเหลือง 

อาเจียน  

หูรูดกระเพาะของทารกยังทำงานไม่สมบูรร์ และกระเพาะมีขนาดเล็กมากไม่สามารถยืดขยายได้มากเหมือนกระเพาะอาหารของผู้ใหญ่คุณแม่มือใหม่ อาจป้อนนมลูกในปริมาณที่มากเกิน เพร่ะลูกร้องบ่อย คิดว่าหิว หลังให้นมควรจับให้ทารกเรอ จะช่วยให้อาการแหวะนมหายไป แต่ถ้ามีอาเจียนพุ่งออกมาทุกครั้งที่กินนมต้องรีบพาไปพบแพทย์ เพราะอาจมีความผิดปกติทางเดินอาหาร หรือเกิดการติดเชื้อขึ้นอาจให้นมผสมที่เจือจางกว่าปกติ งดน้ำผลไม้ทุกชนิดชั่วคราว อย่าซื้อยาแก้ท้องเสียเอง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์

ท้องอืด  

ทารกแรกเกิด อะไรก็ร้อง อะไรก็ร้อง จึงทำให้มีลมในกระเพาะอาหาร ขณะให้นมร่วมกับการมีลมมเยอะในท้องทให้ทารกมีอาการท้องอืด ไม่สุขสบายท้อง เช่นเดียวกัน คุณแม่ควรจับลูกให้เรอ ในท่านั่งหรืออุ้มพาดบ่าหลังให้นม การให้ทารกนอนคว่ำจะช่วยลดภาวะท้องอืดได้ แต่ถ้ามีอาการท้องอืดร่วมกับซึมและอาเจียน ควรรีบพาทารกไปพบแพทย์

ปากเป็นฝ้าขาว  

อาการลิ้นเป็นฝ้าพบได้บ่อยที่สุดส่วนใหญ่เกิดจากคราบน้ำนม ป้องกันได้ง่ายไโดยใช้สำลี หรือผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดออกให้หมด แต่ถ้าเช็ดไม่ออกหรือหลังเช็ดมีเลือดออกและเป็นมากบริเวณกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างและเพดานปาก อาจเกิดจากเชื้อรา ไม่แนะนำให้ป้ายยาเองไม่ว่าจะกรณีใดๆทั้งสิ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์ 

หูมีน้ำไหลออกมา  

ส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากแม่มือใหม่ไม่ระวังทำน้ำเข้าหูลูกน้อย วิธีป้องกัน ขณะสระผมให้ทารก ควรใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางพับใบหูเข้าข้างในให้แน่น เพื่อป้องกันน้ำเข้าหูหลังสระผมแล้วควรเช็ดให้แห้ง และหมั่นสังเกตว่ามีอาการบวมแดงหรือมีน้ำไหลออกจากรูหูหรือไม่ ถ้าพบต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษา

มีไข้  

ภูมิต้านทานของลูกวัยแรกเิกดค่อนข้างต่ำ  เมื่อลูกน้อยได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง หรือ ไปในที่ ที่มีคนพลุกพล่าย โอกาสได้รับเชื้อที่อยู่ในอากาศสูง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิกาย ติดเชื้อต่างๆ ทำให้เกิดอาการไข้ หรือแม้แต่ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนจะทำให้ทารกเป็นหวัดกันบ่อยก็ทำให้ลูกน้อยเป็นไข้ได้ง่ายเช่นกัน การป้องกัน ในช่วง3เดือนแรก คุณแม่ไม่ควรพาลุกน้อยไปอยู่ในที่ ที่อากาศไม่ถ่ายเท ผู้คนพลุกพล่าน แอร์รวม (ห้าง) เพราะบริเวณดังกล่าวอบอวลไปด้วยเชื้อดรคมากมาย หากลูกมีข้ ควรรีบเช็ดตัวลดไข้ หรือหากมีไข้สูงควรพามาพบแพทย์ทันที เด็กอายุต่ำกว่า3เดือน แม่ไม่ควรให้ยาเอง 

ตาอักเสบ  

คุณแม่หลายบ้านอาจสังเกตพบว่าหลังออกจากโรงพยาบาลแล้วทารกมีขี้ตา ส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากท่อน้ำตาอุดตัน  ช่วยแก้ไขได้โดยนวดหัวตาเบา ๆ เด็กบางรายมีน้ำตา ตาแฉะ ขี้ตามีสีเหลืองหรือเขียว แสดงว่ามีการอักเสบของตา ควรพามาพบแพทย์ไม่ควรยอดตาซื้อยาหยอดตาเอง 
อาการผิดปกติของลูก เป็นเรื่องของคุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ขาดประสบการณ์ แยกไม่ออกว่าอาการแบบไหนต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที อาการแบบไหนรอได้ วันนี้Mamaexpertนำความรู้ดีๆมาแชร์ให้คุณแม่ได้ทราบแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะดูแลลูกรักได้อย่างถูกวิธีนะคะ  เป็นคุณแม่อย่าหยุดสังเกต เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรักค่ะ
บทความแนะนำเพิ่มเติม
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team