ไขปัญหา เรื่องไขที่ศีรษะเด็กอ่อน และวิธีดูแลที่ถูกต้อง

20 February 2015
83974 view

ไขที่ศีรษะเด็กอ่อน

เด็กแรกเกิด – 6เดือน มักมีไข แผ่นสีขาวบนหนังศรีษะ บางคน บางๆ บางคนหนาๆ แต่เมื่ออาบน้ำและเช้ดเบาๆก็หลุดออก เวลาผ่านไปไม่นานก็ขึ้นมาอีก ทำให้คุณแม่หลายคนเป็นกังวลกับปัญหา เรื่องไข อาการดังกล่าวกุมารแพทย์ เฉพาะทางด้านผิวหนัง มีวิธีแนะนำการแก้ไข ดังนี้ค่ะ

สาเหตุการเกิดไขที่ศีรษะเด็กอ่อน

ไขที่ศีรษะเด็กอ่อนเกิดจากต่อมไขมันอักเสบ

ต่อมไขมันอักเสบกิดจากการอักเสบของผิวหนังบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่จำนวนมาก เช่น หนังศีรษะ คิ้ว และใบหน้า เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการอายุ 3-12 สัปดาห์ เกิดจากการอักเสบจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อยีสต์ (Pityrosporum ovale) ซึ่งปกติจะอยู่ในรูขุมขนและกินไขมันและโปรตีนของผิวหนังเป็นอาหาร ผื่นจะมีลักษณะเป็นขุยสีขาวหรือสีเหลืองหรือสะเก็ด กระจายทั่วศีรษะ โดยผมไม่ร่วงและจะพบผื่นบริเวณใบหน้า หลังหู คิ้ว หน้าอกและตามซอกข้อพับ ขาหนีบ หรือบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วยได้อาการจะค่อยดีขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะต่อมไขมันจะเริ่มฝ่อลงเรื่อยๆ บางรายอาการจะหายเมื่ออายุ 3-6 เดือน แต่รายที่เป็นมากอาจใช้เวลานานกว่านั้น

ไขที่ศีรษะเด็กอ่อนเกิดจากเชื้อราที่ศีรษะ

หากลูกน้อยมีอาการคัน บริเวณหนังศีรษะ ร่วมด้วยกับสะเก็ดไข  ให้คิดถึงเชื้อรา ต้องพบแพทย์ เพื่อขุดบริเวณหนังศีรษะไปตรวจ

ไขที่ศีรษะเด็กอ่อนเกิดจากหนังศีรษะแห้ง

หนังศรีษะแห้งในเด็กจนทำให้เป็น สะเก็ดขาวๆ พบได้บ่อย ไม่เป็นอันตราย


วิธีแก้ไขป้องกัน อาการไขที่ศีรษะเด็กอ่อนทั้ง 3 อาการข้างต้น

  1. ใช้น้ำมะนมะกอก น้ำมันมะพร้าว หรือเบบี้ออยล์ ชะโลมหนังศีรษะท้งไว้ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้ซึมลึกถึงรากผม ค่อยนำลูกไปสระผมตามปกติค่อยๆ ถูเบาๆ เพื่อให้คราบหลุดออก ที่สำคัญคือ คุณแม่อย่าเกานะคะ เเค่ลูบเบาๆก็หลุด หากยังไม่หลุดก็ทำแบบเดียวกันในวันถัดไป
  2. หากเป็นเด็กโตแล้ว แนะนำให้สระผมโดยใช้น้ำอุณภูมิปกติ น้ำอุ่นทำหใ้หนังศีรษะแห้ง กระตุ้นให้เกิดสะเก็ดสีขาวมากขชึ้น
  3. หากเป็นเชื้อรา หลังสระผม ทายาบางๆที่แพทยให้มาตามเวลา

ปัญหา ไขที่ศีรษะลูก คุณแม่ควรทำตามคำแนะนำข้างต้น  หากไม่มั่นใจให้พบแพทย์ อย่าซื้อยาทาเองเนื่องจากยาทาเชื้อราส่วนมากมีส่วผสมของสเตียรอยด์ หากทาบ่อยๆหรือทามากเกินอาจเป้นอันตรายได้

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. ไขบริเวณหน้าผากของเด็กแรกเกิด

2. ดื่มน้ำมะพร้าวช่วยลดไขจริงหรือ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team