แชร์เก็บเลย เตรียมของก่อนคลอด แบบเน้นๆประหยัดงบมีอะไรบ้าง

02 September 2019
6880 view

เตรียมของก่อนคลอด

เตรียมของก่อนคลอดควรหรือไม่

เรื่องการเตรียมของก่อนคลอดลูกเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ต้องช่วยกัน  โบร่ำโบราณกล่าวไว้ว่า หากเตรียมของไว้ก่อนอาจไม่ดีต่อลูก แต่ ... ความจริงแล้วนั้น สูติแพทย์มักจะแนะนำคุณแม่ คุณพ่อเตรียมของใช้เด็กให้เสร็จก่อนคลอดลูก เพราะถ้าวันคลอดมาถึงจะไม่สะดวกเอาได้ วิ่งหากันให้วุ่น เสียเวลาเฝ้าเจ้าตัวเล็กเปล่าๆ มาค่ะวันนี้  Mamaexpert จะพาว่าที่คุณแม่ เช็คและเตรียมของใช้ ที่ต้องใช่จริง 1 2 3 มีอะไรบ้างตามนี้เลย


1.เตรียมของก่อนคลอดหมวดหมู่เอกสารสำคัญ

หมวดหมู่นี้ต้องเตรียมพร้อมมากที่สุดและต้องนำไป รพ .ด้วย ได้แก่ ทะเบียนสมรส สำเนาทะเบียนบ้านที่จะย้ายลูกเข้า  สำเนาบัตรประชาชนคุณพ่อ และคุณแม่ ชื่อ เล่น ชื่อจริงที่จะใช้ แนะนำให้เตรียมทั้ง2เพศเลยนะคะโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ทราบเพศบุตรแน่นอน เช่น อัลตราซาวน์ไม่ชัด เป็นต้น



2 . เตรียมของก่อนคลอดหมวดหมู่ ให้นมลูก

คุณแม่ทุกคนต่างตั้งเลี้ยงลูกด้วยนมแม่100% แต่... จะสำเร็จหรือไม่ส่วนหนึ่งมาจากการเตรี่ยมความพร้อม  ตั้งแต่ก่อนคลอด และเมื่อคลอดลูกแล้วต้าองขยันให้ลูกดูดวนไป อย่ายอมแพ้ ซึ่งการให้นมบุตรมีออฟชั่นเสริมอยู่มากมาย ได้แก่

  1.  ชุดชั้นในให้นมบุตร 
  2. สำลีก้อนสำหรับเช็ดทำความสะอาดเต้านม
  3.  ตลับใส่สำลีก้อนนชุบน้ำอุ่น ไว้เช็ดหัวนมก่อนให้นม
  4. แผ่นซับน้ำนม
  5. หมอนให้นม รูปตัว U
  6. แอลกอฮอล์เจล สำหรับล้างมือ คุณแม่ต้องทำความสะอาดมือก่อนและหลังให้นม และสัมผัสลูกน้อย คุณแม่ต้องไม่สะดวกลุกไปล้างที่ห้องน้ำแน่ๆ เพราะปวดแผล
  7. หมอนใบใหญ่ 2-3 ใบ ทำไมต้องใหญ่ ใหญไม่พอค่ะคุณต้องนุ่มด้วย เอาไว้ดันหลัง ให้คุณแม่อยู่ในท่าตัวตรงขณะให้นมลูก หากคุณแม่หลังค่อมจะทำให้ปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ มือชา ระหว่างให้นมบุตรได้
  8. เครื่องปั๊มนม
  9. ถุงเก็บน้ำนม
  10. ขวดนม  6 - 8 ขวด
  11. เครื่องนึ่งขวดนม
  12. น้ำยาล้างขวดนม
  13. แปรงล้างขวดนม

3.เตรียมของก่อนคลอดหมวดหมู่ ทำความสะอาดร่างกายและเครื่องนุ่งห่ม

ในหมวดหมู่นี้ก็สำคัญไม่ใช่น้อย บางโรงพยาลบาล อาจมีของใช้เด็กขนาดทดลอง กลับบ้านด้วย แนะนำให้ใช้เลยเพราะต้องประหยัดค่าใช้จ่าย กรณีลูกแพ้ควรงดทันที อันที่จริง ควรให้ลูกใช้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพราะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กจะคล้ายๆกัน แตกต่างตรงที่เด็กแพ้ง่าย ผิวแห้งมากควรใช้ให้ถูกกับลักษณะผิว ของใช้ที่พ่อแม่ต้องเตรียมได้แก่ 

  1. ทิชชู่เปียก ใช้ง่าย แต่ควรเลือกใช่ยี่ห้อที่ปราศจาคสารก่อแพ้ หรือ ผสมน้ำหอม  ปัจจุบันมียี่ห้อที่ผสม 0.9% NSS ใช้ดีใช้ง่ายไม่ระคายเคืองต่อผิวลูกด้วย
  2. สำลีแผ่น เด็กแรกเกิดผิวละเอียดอ่อน และบอบบาสงมาๆ ควรใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดผิว บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ เปลือกตา จนกว่าลูกจะอายุมากกว่า1เดือนขึ้นไปค่อยเปลี่ยนไปใช้ทิชชู่เปียก 
  3. ผ้าขนหนู ผืนใหญ่  6 ผืน สำหรับ เช็ดตัว หรือไม่อยากเปลือง ใช้เป็นผ้าห่มได้ 
  4. ผ้าขนหนูผืนเล็ก  6 ผืน ไว้เช็ดตัว รองศีรษะให้นม  
  5. ผ้าอ้อมขนาดเล็ก ผ้าสำลี 12ผืน  ใช้เช็ตตัวเด็ก ไว้นุ่งหุ่ม
  6. ผ้าอ้อม /ผ้าสำลี หรือผ้าสาลู 24ผืน เช็ตตัว ห่อตัว นุ่งห่ม 
  7. ชุดเด็กแบบผูก 12ชุด
  8. ถุงเท้า 6 คู่ ปกติไม่ได้ใช้เท่าไหร่ ยกเว้นอากาศเย็น
  9. ถุงมือ 2 คู่  กุมารแพทย์ ไม่แนะนำให้ใช้ 
  10. หมวก 2 ใบ เมื่ออกนอกบ้าน หรือเปิดแอร์
  11. กาละมังอาบน้ำเด็ก
  12. กาละมังแช่ผ้า ชักผ้า 2 ใบ ห้ามใช้ร่วมกับคนอื่นๆในครอบครัวควรแยก
  13. ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก 
  14. สำลีก้อนเล็กเก็บในกระปุกมิดชิด สำหรับชุบน้ำต้มสุกเช็ดตา  และชุบแอลกอฮอล์เช็ดสะดือ 
  15. ไม้พันสำลี ใช้สำหรับเช็ดตามส่วนต่างๆ เช่น สะดือ หู เป็นต้น

4.เตรียมของก่อนคลอดหมวดหมู่ความปลอดภัย 

หมวดหมู่ความปลอดภัย คุณแม่อาจนึกถึงยา  แท้จริงแล้วเด็กแรกเกิด งดให้ยาโดยเด็ดขาด ต้องพบแพทย์เท่านั้น ยกเว้นยาทาภายนอกบางชนิด สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียมติดบ้านไว้เพื่อความปลอดภัยของลูกรัก ได้แก่

  1. คาร์ซีท ลูกน้อยสามารถนอนในคาร์ซีทได้ตั้งแต่วันที่ออกจากโรงพยาบาลและพ่อแม่ต้องเตรียมพร้อมเมื่อโดยสารรถยนต์ต้องติดตั้งคาร์ซีทอย่างถูกต้อง 
  2. มุ้งครอบ  กันยุงกัด
  3. เครื่องดักยุง แบบไฟฟ้าพลังแรงลมดูดยุงเข้าไปตายในเครื่อง ห้ามใช้สารเคมี หรือ แบบเสียบปล่อยน้ำยาเคมีอันตรายต่อทารก 
  4. ลูกยางแดง ที่ผ่านการต้มฆ่าเชื้อ
  5. Syringe ขนาด 3 ml และ 5 ml ใช้สำหรับหยด 0.9%NSS ในโพรงจมูกลูก กรณีมีน้ำมูก หายใจครืดคราด 
  6. 0.9%NSS สำหรับหยดจมูกทารก มีหลายขนาด ควรใช้ขวดเล็กสุด เปิดแล้วมีอายุ 24ชั่วโมง
  7. มหาหิงคุ์ สำหรับทาท้องเด็ก กรณีท้องอืดร้องกวน ไล่ลมแล้วไม่ดีขึ้น  
  8. 70%แอลกอฮอล์ / เบตาดีน คุณแม่จะได้รับ 1 อย่างกลับบ้านมาด้วย เพื่อเช็ดทำความสะอาดสะดือลูกอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะหลุดแล้วต้่องเช็ดต่อจนกว่าสะดือจะแห้ง
  9. ปรอทวัดไข้ทางรักแร้ งดทางปาก
  10. กรรไกรตัดเล็บเด็ก
  11. เบอร์โทรแผนกเด็กแรกเกิดของโรงพยาบาลที่ลูกคลอด หรือ คลินิคนมแม่ที่ใกล้บ้าน เพื่อปรึกษาการให้นมบุตร และสุขภาพลูกวัยแรกเกิด



เป็นอย่างไรบ้างคะคุณแม่ Mamaexpert จัดมาฝากแบบเน้นๆเลยนะคะ ได้เวลาเตรียมพร้อมแล้ว ควรเริ่มเตรียมคร่าวๆตั้งแต่วันที่ทราบเพศบุตรนะคะ หากขาดการวางแผนหลังคลอดคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ยุ่งสุดๆ แทบไม่มีเวลาหลับนอน เพราะคุณแม่ต้องให้นมบุตรทุก 2 -3 ชั่วโมง  Mamaexpert เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกบ้านค่ะ 

ร่วมคุยปัญหาการเลี้ยงลูก หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้ที่กลุ่ม  คุณแม่แชร์ไอเดีย 



เรียบเรียงโดย  :  พว.นฤมล   เปรมปราโมทย์