นมแม่สร้างได้อย่างไร แม่มือใหม่ต้องรู้

27 February 2019
4759 view

คุณแม่ทุกคนต่างทราบกันดีว่า “นมแม่” เป็นอาหารมื้อแรกของลูกที่มีคุณอนันต์อีกทั้งยังช่วยพัฒนาร่างกายของลูกให้ เจริญเติบโตอย่างสมวัย แต่กว่าน้ำนมจะกลั่นออกมาเป็นหนึ่งหยดที่ทรงคุณค่า มหาศาลได้นั้นค่อนข้างซับซ้อน การสร้างและหลั่งน้ำนมล้วนมีปัจจัยหลายด้าน แต่จะมีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้นมแม่มีเพียงพอสำหรับทุกๆ มื้อของลูก และปัจจัย ด้านไหนบ้างที่ทำให้นมแม่ลดน้อยไม่พุ่งพรวดส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของคุณต้องล้มเหลวไป มาค่ะวันนี้ Mamaexpert จะพาคุณแม่ไปทำความรู้จัก กับกระบวนการสร้างหยดน้ำนมอันทรงคุณค่า ที่คุณแม่นั้นก็มีส่วนอย่างมาก ในการสร้างน้ำนม ห้ามพลาดเชียว!!!


การสร้างน้ำนมแม่...ที่คุณแม่ก็มีส่วนร่วมสร้าง

กระบวนการสร้างน้ำนมมีความซับซ้อน กว่าจะหลั่งออกมาให้ลูกได้ดื่มกินนั้น มีปัจจัยหลายสิ่งที่ส่งเสริมให้กระบวนการสร้างน้ำนมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่คุณแม่อาจไม่เคยทราบกันมาก่อนว่าคุณแม่และลูกน้อยคือคนสำคัญในการร่วมสร้างน้ำนม มาดูกันเลยค่ะว่าทำไมถึงกล่าวเช่นนั้น

ภาพ : แสดงกระบวนการสร้างและหลั่งน้ำนม

  1. ขั้นแรก เริ่มจากการที่ลูกน้อยอมหัวนมให้ลึกมิดลานนมและออกแรงดูด เมื่อมีการดูดถูกวิธีเกิดขึ้นจะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองที่มีชื่อว่าไฮโปธาลามัส นั้นทำงาน
  2. เมื่อไฮโปธาลามัสถูกกระตุ้น จะหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยใน การสร้างน้ำนม ที่ชื่อว่า โปรแลคติน และออกซิโตซินออกมา ซึ่งโปรแลคติน มีบทบาท สำคัญในการสร้างน้ำนมแม่  ส่วนออกซิโตซิน ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม ยิ่งลูกดูดนมแม่ ถูกวิธีและดูดถี่มากเท่าไหร่ ก็จะกระตุ้นให้หลั่งโปรแลคติน และออกซิโตซินมากขึ้นเท่านั้น
  3. จบกระบวนการทำงานโดย ออกซิโตซินกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณ ลานนมหดรัดตัวเพื่อขับน้ำนมที่พักอยู่ในกระเปราะน้ำนมหลั่งออกมา ตามแรงดูดของเจ้าตัวน้อย

เป็นอย่างไรบ้างคะ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคุณแม่ถึงกับอุทานในใจเบาๆ “อ๋อมันเป็นอย่างนี้นี่เอง” แต่ก็มีคุณแม่หลายคนถึงกับมีประเด็นคำถามเกิดขึ้น ประเด็นที่ว่านั้นก็คือ เอ๊ะฉันก็ทำตามนี้เป๊ะๆ นะ ลูกดูดบ่อย ดูดถูกต้องทุกครั้งแต่ทำไมน้ำนมหดแห้ง น้ำนมออกน้อยล่ะ !!!  เรามาเช็คกันในหัวข้อต่อไปค่ะว่าคุณผิด กติกาข้อไหนบ้าง

ทำไมน้ำนมหดแห้ง น้ำนมออกน้อยล่ะ !!!  

ดูดบ่อย ดูดดี ดูดถูกวิธีใช่ว่าจะจบปัญหาน้ำนมแม่ได้  เพราะคุณแม่หลายคนบอกว่าทำตามคำแนะนำทุกอย่างและเคร่งครัดแต่น้ำนมก็ไม่พอ ไปต่อไม่ได้อาจเป็นเพราะเรื่องเหล่านี้หรือเปล่า เช็คด่วน!!!

  1. เครียด พักผ่อนน้อย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเหนื่อยล้า
  2. ภาวะโภชนาการ มีความเชื่อผิดๆ ในการรับประทานอาหาร แม่หลังคลอดควรได้รับอาหารที่หลากหลาย ครบ 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. โรคประจำตัวทำให้มีผลต่อการสร้างน้ำนม เช่น โรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์  ความดันโลหิตสูง เคยผ่าตัดบริเวณเต้านม
  4. สูบบุหรี่
  5. รับประทานอาหารเสริมมากเกินไป
  6. ดื่มแอลกอฮอล์

หากคุณแม่ได้พยายามอย่างถึงที่สุดแล้วในการให้นมบุตร หรืออาจมีความจำเป็นบางประการที่ไม่สามารถให้นมลูกได้  อาจมีความกังวลในการเลือกนมให้ลูก Mamaexpert มีคำแนะนำค่ะ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับกระบวนการสร้างน้ำนมกันค่ะ โดยมีรายละเอียดมีดังนี้

  • ระบบการสร้างน้ำนมแบบเมโรไครน์ (Merocrine secretion) : กระบวนการสร้างน้ำนมในรูปแบบนี้ เยื้อหุ้มเซลล์น้ำนมยังมีความสมบูรณ์ โมเลกุลนมมีขนาดใหญ่ ซึ่งระบบสร้างน้ำนมแบบเมโรไครน์ พบในวัว
  • ระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ (Apocrine secretion) :  กระบวนการสร้างน้ำนมในรูปแบบนี้ ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์น้ำนมหลุดออกมากับน้ำนมในปริมาณสูง น้ำนมจึงมีสารอาหารธรรมชาติสูง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ย่อยง่าย ซึ่งระบบสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์พบในนมแม่และนมแพะเท่านั้น  

ภาพ:ความแตกต่างของกระบวนการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์และเมโรไครน์

ซึ่งระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ (Apocrine secretion) จะทำให้ได้สารอาหารสำคัญตามธรรมชาติที่เรียกว่า ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์ (Bioactive Components) ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกค่ะ สารอาหารเหล่านี้ได้แก่

  • นิวคลีโอไทด์ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • ทอรีน ช่วยให้การทำงานของจอประสาทตาดีขึ้น
  • โพลีเอมีนส์ ส่งเสริมระบบทางเดินอาหารให้สมบูรณ์
  • โกรทแฟคเตอร์ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต

การเลือกนมให้ลูกอาจไม่ใช่เรื่องที่ต้องปวดหัวสำหรับแม่มือใหม่อีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีนมชนิดต่างๆ ให้คุณแม่ได้เลือกมากมาย และ Mamaexpert  ยังช่วยอัพเดทข้อมูลดีๆ ให้คุณแม่ได้ทราบอยู่เสมอ นมของลูกเรื่องของแม่ อย่าลืมนะคะคุณแม่ นมดีๆ อยู่ที่กระบวนการสร้างน้ำนมค่ะ   

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial 

อ้างอิง : 
1. Goat milk secretion.เข้าถึงได้จาก https://www.dgc.co.nz/leaders/goat-milk-secretion.[ค้นคว้าเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2562]