นม UHT สำหรับลูก เริ่มเมื่อไหร่แม่ต้องรู้

26 February 2018
29685 view

นม UHT เริ่มเมื่อไหร่

นม UHT เป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการส่งเสริมให้ลูกวัย 1 ปีขึ้นไปดื่มนมหลังจากหย่านมแม่แล้วหรือนมผง นม UHT ก็ถือได้ว่าเป็นนมที่คุณพ่อคุณแม่ไว้วางใจเลือกให้ลูกดื่มกันมากที่สุด เพราะคุณค่าทางสารอาหารที่จะช่วยให้ร่างกายและสมองของลูกได้รับการบำรุงเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี

นม UHT ต่างจากนมผงดัดแปลงอย่างไร

นม UHT  (Ultra High Temperature) คือนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูง นม UHT กล่องบางชนิดทำจากนมโคสด บางชนิดก็ทำมาจากนมผง เด็กเล็กไม่ควรจะดื่มนมที่มีส่วนผสมมาจากนมโคสด เพราะระบบย่อยยังไม่สมบูรณ์ และ นม UHT นั้นเหมาะกับเด็กที่มีอายุ 1 ขวบขึ้นไป เพราะ นม UHT  ดัดแปลงมาจากนมผงสำหรับเด็ก 1 ขวบและมีสารอาหารครบถ้วนเหมือนนมผง นม UHT จะผ่านกระบวนการผลิดโดยฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 135-150 องศาเซลเซียสและสามารถเก็บไว้ได้นาน ถึง 8 เดือนโดยที่ไม่ต้องแช่เย็น 

นมผง คือการที่นำน้ำนมวัวมาแปรรูปให้เป็นผง มีการแปรรูปหลายขั้นตอนเพื่อการเก็บรักษา แต่เก็บไว้ได้ไม่นาน และคุณค่าทางอาหารลดน้อยลง เพราะกระบวนการแปรรูปทำให้สารอาหารจากธรรมชาติหารไปกับความร้อน

นม UHT ควรเริ่มดื่มเมื่ออายุเท่าไหร่

นมแม่ดีที่สุดเพราะได้ประโยชน์มากมายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนที่จำเป็นต่อลูกน้อยที่นำไปใช้ในการเจริญเติบโตและพัฒนาสมอง และช่วยในเรื่องของภูมิคุ้มกันทางร่างกายที่เหมาะกับแต่ละช่วงวัย ป้องกันการติดเชื้อ  และไม่มีโปรตีนแปลกปลอมที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต่อต้านจนก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ถ้าลูกยังได้นมแม่อยู่ ก็ยังไม่ต้องเสริมนมชนิดอื่น แต่ถ้านมแม่เหลือน้อย หรือคุณแม่ต้องการหย่านม ให้เสริมด้วย นม UHT ได้ และควรให้ลูกน้อยดื่ม หลังจากอายุ 1 ขวบขึ้นไป แต่อาจจะให้ในปริมาณแต่น้อยในแรกเริ่ม หลังลูกดื่ม นม UHT อาจพบมีสารอาการท้องผูก ท้องอืดได้ คุณแม่ควรเสริมผลไม้ให้ลูกน้อย

นม UHT ทำให้ลูกแพ้หรือไม่

นม UHT บางชนิดทำมาจากนมโคสด 100 % หรือมีส่วนผสมของโปรตีนนมวัว อาจทำให้ลูกน้อยแพ้นมวัวหรือนมที่มีส่วนผสมของโปรตีนนมวัวได้ กรณีนมแม่ลดน้อย หรือมีเหตุจำเป็นต้องหย่านมแม่ และกลัวลูกจะแพ้นมวัว  ของแนะนำให้ลูกดื่มนม UHT ที่ผลิตมาจากถั่วเหลือง และควรเลือกชนิดหวานน้อยเพื่อป้องกันฟันผุและโรคอ้วนในเด็ก

นม UHT ยี่ห้อไหนดีที่สุด

นม UHT ผลิตจากนมโค 100 % ที่ผ่านกรรมวิธีกระบวนการผลิดโดยฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 135-150 องศาเซลเซียสและสามารถเก็บไว้ได้นาน ถึง 8 เดือนโดยที่ไม่ต้องแช่เย็น Mama Expert ขอแนะนำ นม UHT คุณภาพที่ผลิตจากนมโค 100 % ได้แก่

1. นม UHT ตรา จิตลดา

เป็นนมในโครงการพระราชดำริ นมจิตลดาผลิตจากนมโคสด100 % สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 6 เดือน เก็บรักษาโดยไม่ต้องแช่เย็น แต่ควรเก็บให้พ้นจากแสงแดด นม UHTจิตลดามีเฉพาะรสจืดเหมาะกับเด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายและช่วยในเรื่องการเจริญเติบโต

Image result for นมยูเอชที ตราจิตรลดา

2. นม UHT ตรา ไทยเดนมาร์ค

ผลิตจากนมโคแท้ 100 % เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ มีหลากหลายรสชาติ เช่น รสหวาน รสจืด รสช็อกโกแลต 

Image result for นมยูเอชที ตราไทยเดนมาร์ค

3.นม UHT ตรา วาริช

ผลิตจากนมโคสด 100 % ในโครงการพระราชดำริ มีรสจืด สามารถเก็บได้ในที่ร่ม ไม่โดนแดดนาน 5-6 เดือน 

Image result for นมยูเอชที ตราวาริช

4. นม UHT นมโรงเรียน

ผลิตจากนมโคแท้ 100 % สามารถเก็บได้ในที่ร่ม ไม่โดนแดดนาน 5-6 เดือน 

Image result for นมยูเอชที นมโรงเรียน

5. นม UHT ตรา หนองโพ

ผลิตจากนมโคแท้ 100% ประกอบด้วย 4 รสชาติ คือรสจืด รสหวาน รสกาแฟ และรสช็อกโกแลตสามารถเก็บได้ในที่ร่ม ไม่โดนแดดนาน 5-6 เดือน 

Plain 225 - 2017

นม UHT เก็บอย่างไรให้คุณภาพคงอยู่ นมไม่เสีย

  • นม UHT สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้นาน 5-6 เดือน ไม่ควรวางไว้ตรงที่มีแดดส่อง แต่ควรดูวันหมดอายุที่ระบุไว้ข้างก่อนเป็นหลัก
  • หากเปิดกล่องทานนมแล้วควรทานให้หมดหรือเก็บแช่ไว้ในตู้เย็น
  • ไม่ควรวางซ้อนทับกันหลายชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลังหรือกล่องนมยุบเพื่อป้องกันการแตกของกล่องนม
  • ก่อนดื่มนมทุกครั้ง ต้องเขย่าก่อนดื่มทุกครั้ง

นม UHT มีข้อเสียต่อลูกหรือไม่ 

ลูกน้อยควรได้รับนมแม่จนถึงอายุ 6 เดือน ถ้าหากแม่ยังมีน้ำนมอยู่ยังไม่ต้องเสริมนมชนิดอื่น หากนมแม่เหลือหรือต้องการหย่านม ให้เสริมด้วยนม UHT ได้ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไปเพราะร่างกายของลูกได้พัฒนาขึ้นที่จะรับสารอาหารได้หลากหลาย และส่วนมากพร้อมที่จะได้รับโปรตีนหลากหลายประเภทมากขึ้น รวมถึงโปรตีนนมวัว หากลูกน้อยแพ้นมวัวแนะนำให้ลูกดื่มนมUHT ที่ผลิตมาจากถั่วเหลืองได้ และที่สำคัญเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบไม่ควรดื่มนม UHT เพราะระบบย่อยยังไม่สมบรูณ์ 

Mama Expert หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณแม่จะเลือกนมที่ดี มีประโยชน์ และเหมาะกับช่วงวัยของลูกโดยแท้จริง และไม่ลังเลใจอีกต่อไป 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. คลินิคนมแม่

2. คุณแม่มือใหม่เลือกนมให้ลูกอย่างไรดี

3. ลดความเสี่ยงในการแพ้นม เลือกนมให้ลูกอย่างไรดี

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team