ดูดเสมหะเด็กอันตรายหรือไม่ คุณแม่มือใหม่ต้องรู้

21 July 2017
62001 view

ดูดเสมหะเด็ก

ธรรมชาติได้สร้างเสมหะเพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้ามาในทางเดินหายใจและขับเสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมออกโดยไอ ในภาวะที่มีความผิดปกติของระบบหายใจ เช่น มีการติดเชื้อหรือมีการระคายเคืองจากการได้รับสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ จะทำให้มีการสร้างเสมหะมากกว่าปกติ

ดูดเสมหะเด็ก คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีเสมหะต้องดูดเสมะลูกหรือไม่

  1. มีน้ำมูกในจมูกหรือมีเสมหะในคอ
  2. ไอบ่อยแบบระคายคอ
  3. หายใจครืดคราด หรือเมื่อวางมือแนบอกหรือหลัง จะรู้สึกว่าครืดคราด
  4. คัดแน่นจมูก หายใจไม่ออก กระสับกระส่าย
  5. ดูดนมไม่ดี
  6. รอบปากซีดหรือเขียวคล้ำ

จำเป็นแค่ไหนในการดูดเสมหะเด็ก

ในผู้ใหญ่สามารถขับเสมหะออกมาเองได้ แต่เด็กเล็กๆ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือมีความพิการทางสมองจะไม่สามารถสั่งน้ำมูกและไอได้เอง จึงต้องทำการดูดเสมหะเพื่อดูดน้ำมูกออกจากช่องจมูก เพื่อกระตุ้นให้ไอเพื่อขับเสมหะออกจากปอด การที่ไม่มีน้ำมูกในช่องจมูกและไม่มีเสมหะคั่งค้างในปอดจะทำให้เด็กหายใจสะดวกสามารถดูดนมได้ดีและนอนหลับสบาย การขับเสมหะออกลดการเพาะเชื้อในปอดจึงไม่เกิดการติดเชื้อตามมา 


ดูดเสมหะเด็กอันตรายหรือไม่ ควรทำเองไหม

เมื่อลูกมีเสมหะคั่งค้างในลำคอ แต่ไม่มีไข้ร่วมด้วย คุณแม่สามารถระบายเสมะให้ลูกน้อยด้วยการใช้ลูกยางแดงที่สะอาด ดูดระบายเสมหะในช่องคอ และในจมูกออกให้ลูกได้ หากพบว่าลุกมีเสมหะจำนวนมาก ร่วมกับมีไข้ ควรพบแพทย์ เพราะปริมาณเสมหะที่มาก จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องดูดสุญญากาศเป็นตัวช่วยระบายเสมหะ และเพื่อความปลอดภัยของลูกรัก 



การดูดเสมหะเด็กไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ ขอเพียงคุณแม่มีวิธีรับมือและใจแข็งพอที่จะดูดเสมหะให้ลูก เพราะเด็กเล็กอาจร้องให้หรือต่อต้านกับการดูดเสมหะเกือบทุกรายค่ะ แม่ต้องท่องไว้เพื่อลูกหลับสบาย หายใจโล่ง ดูดนมได้ดีขึ้น เพื่อลูก คุณแม่ทำได้แน่นอนค่ะ Mamaexpert เป็นกำลังใจให้แม่ๆทุกบ้านค่ะ


บทความเพิ่มเติม  : 

1. วิธีดูดน้ำมูก ดูดเสมหะด้วยลูกยางแดง

2. คลิป การเคาะปอดเด็กอย่างถูกต้อง ก่อนดูดเสมหะ

3. รู้หรือไม่? สีน้ำมูก สามารถบอกโรคได้!!

เรียงเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team