แท้งคุกคาม! ภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกต้องระวัง..

24 June 2012
26049 view

แท้งคุกคาม

แท้งคุกคาม เป็นภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกต้องระวังเป็นอย่างมาก Mama Expert นำเกร็ดความรู้ ภาวะแท้งคุกคาม มาฝากคุณแม่เพื่อสุขภาพที่ดีของทารกในครรภ์และสุขภาพของคุณแม่เอง มาดูภาวะอันตรายในแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องระวังกันเลยค่ะ...

แท้งคุกคาม คืออะไร

แท้งคุกคาม (Threatened Abortion) คือ การตั้งครรภ์ที่มีเลือดออกทางช่องคลอด โดยที่ปากมดลูกยังไม่เปิด และการตั้งครรภ์นั้นต้องมีอายุครรภ์ก่อน 28 สัปดาห์ มีการป้องกันและการดูแลตัวเองอย่างไรภาวะแท้งคุกคามนั้น เป็นภาวะที่พบบ่อย โดยพบได้ถึงประมาณร้อยละ 25 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยที่สาเหตุของการแท้งมักเกิดจาก ความพิการของทารกแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครโมโซม การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน ความผิดปกติของมดลูก หรือไม่ทราบสาเหตุ

แท้งคุกคาม มีอาการอย่างไร

ภาวะแท้งคุกคามเป็นภาวะที่พบบ่อยโดยพบได้ถึงประมาณร้อยละ 25 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยที่สาเหตุของการแท้งมักเกิดจาก ความพิการของทารกแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครโมโซม การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน ความผิดปกติของมดลูก หรือไม่ทราบสาเหตุผู้ที่มีภาวะแท้งคุกคาม จะมีอาการเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือดที่ออก อาจจะมากหรือน้อยแล้วแต่บุคคล นอกจากนั้นอาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ในช่วงเริ่มต้นอาจจะมีอาการน้อยๆก่อน เช่น ปวดท้องน้อยเพียงเบาๆ มีเลือดออกกระปริกระปรอย จากนั้นอาการจะมากขึ้นเป็นลำดับ ในบางคนอาจจะตกเลือดมากได้ ดังนั้นถ้าผู้ที่ตั้งครรภ์มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือ ปวดท้องน้อย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูตัวอ่อนในครรภ์สิ่งที่สำคัญที่สุดในภาวะแท้งคุกคาม คือการตรวจดูว่าตัวอ่อนในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ วิธีการตรวจในปัจจุบันที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ เครื่องอัลตร้าซาวด์ ซึ่งจะตรวจดูความสมบูรณ์และจับการเต้นของหัวใจ ตรวจดุถุงหุ้มตัวอ่อนมดลูก และภาวะอื่นๆที่อาจจะมีอาการเหมือนภาวะแท้งคุกคาม เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูกนอกจากวิธีการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์แล้ว การตรวจหาระดับฮอร์โมนในเลือด (ซึ่งตรวจได้หลายตัว เช่น hCG, Estrogen, Progesterone, hPL, Pregnancy specific beta glycoprotein, alpha fetoprotein) ก็จะสามารถบอกได้ว่าตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ถ้าตัวอ่อนเสียชีวิตปริมาณฮอร์โมนเหล่านี้จะต่ำลง

แท้งคุกคาม เสี่ยงต่อแม่ตั้งครรภ์กลุ่มไหนบ้าง

แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะแท้งคุกคาม จะยังไม่มีการระบุไว้แน่ชัด แต่ก็ยังมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ การบาดเจ็บบริเวณช่องท้อง การที่คุณแม่มีอายุมากหรือเกิน 35 ปี มีการใช้สัมผัสกับยาหรือสารเคมีบางชนิด คุณแม่มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน

แท้งคุกคาม รักษาได้หรือไม่

ถ้าตรวจพบว่าตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่ แพทย์จะเฝ้าติดตามการตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวต่อผู้ตั้งครรภ์ ในไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัดการปฏิบัติตัวเพื่อรักษาครรภ์ในภาวะแท้งคุกคาม เมื่อตรวจพบว่าตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังมีเลือดออกทางช่องคลอด แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนให้มากๆ ห้ามออกแรง ห้ามเดินมากๆ หรือยกของหนัก หรือกิจกรรมใดๆก็ตามที่เป็นการเกร็งหน้าท้อง หรือเพิ่มความดันในช่องท้อง เพราะจะมีผลต่อตัวอ่อนที่บอบบาง นอกจากนั้นให้ทำใจให้สบาย กินอาหารที่มีประโยชน์การรักษาโดยการรับประทานฮอร์โมน ได้ผลหรือไม่ การรักษาโดยการรับประทานฮอร์โมน มักไม่ได้ประโยชน์ กลับจะส่งผลทำให้การแท้งยืดเยื้อออกไป ทำให้ตกเลือดเป็นระยะเวลานาน และอาจจะทำให้ติดเชื้อแทรกซ้อนได้ นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างความกังวลใจด้วยโอกาสที่ของผู้ที่เกิดภาวะแท้งคุกคามจะมีโอกาสตั้งครรภ์ต่อได้เท่าไหร่จากสถิติโดยรวม พบว่าประมาณร้อยละ 50 จะสิ้นสุดด้วยการแท้งออกมา ไม่ว่าจะให้การรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม ซึ่งในผู้ป่วยที่แท้งออกมาเหล่านี้ ตัวอ่อนมักจะเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว ในอีก ร้อยละ 50 ที่เหลือ ถ้าตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่และได้รับการดูแลอย่างดี เลือดที่ออกทางช่องคลอดจะน้อยลง และมีโอกาสตั้งครรภ์ต่อได้ จากสถิติพบว่าถ้าอายุครรภ์เกิน 8 สัปดาห์และตรวจพบการเต้นของหัวใจของทารกด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ จะมีโอกาสตั้งครรภ์ต่อได้ถึงร้อยละ 95 และการแท้งจะลดลงเมื่อสามารถรักษาครรภ์จนมีอายุครรภ์มากขึ้นเมื่อแท้งแล้ว ทำไมผลตรวจการตั้งครรภ์ยังให้ผลบวกเมื่อตรวจปัสสาวะ ชุดการตรวจอาจจะยังให้ผลบวก เนื่องจากเยื่อหุ้มตัวอ่อนยังคงสร้างฮอร์โมนอยู่ แม้ว่าตัวอ่อนจะเสียชีวิตแล้วก็ตาม ผลจะคงอยู่เช่นนี้เป็นเวลาหลายสัปดาห์การตั้งครรภ์ครั้งต่อไป มีโอกาสแท้งคุกคามอีกหรือไม่ขึ้น อยู่กับสาเหตุของการแท้งคุกคามครั้งนี้ ถ้าการแท้งเกิดจากการที่ไม่มีตัวอ่อน ตัวอ่อนผิดปกติที่ไม่เกี่ยวกับโครโมโซมบางชนิด โอกาสท้องครั้งแต่ไปจะเหมือนคนปกติ แต่ถ้าการแท้งเกิดจากภาวะพันธุกรรมบางอย่าง หรือมดลูกผิดปกติ สุขภาพแม่ไม่สมบูรณ์ ก็มีโอกาส แท้ง มากขึ้นในท้องต่อไปค่ะ

แท้งคุกคาม เมื่อเป็นแล้วต้องดูแลตนเองอย่างไร

  1. คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. คุณแม่ควรพักผ่อนให้มาก ๆ และงดทำงานหนักทุกชนิด โดยคุณแม่สามารถกลับมาเริ่มทำงานแบบเบา ๆ ได้อีกครั้งเมื่อเลือดหยุดออกแล้ว 48 ชั่วโมงขึ้นไป
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  4. งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่มีเลือดออกทางช่องคลอด อย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังเลือดหยุด
  5. ถ้ามีอาการปวดท้องน้อย ในลักษณะปวดบีบๆ เหมือนการปวดประจำเดือน ควรรีบพบแพทย์เพราะเป็นสัญญาณเตือนของอันตราย

เพราะสุขภาพครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คุณแม่ควรดูแลและติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยปะละเลย ควรเข้ารับการตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดนะคะ เพราะถ้ามีสิ่งผิดปกติ แพทย์จะได้รีบช่วยและทำการรักษาค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ภาวะโภชนาการของแม่ตั้งครรภ์

2.ยาบำรุงครรภ์ เพื่อบำรุงให้ลูกแข็งแรง

3.อาหารต้องห้ามสำหรับแม่ตั้งครรภ์

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team