การตรวจครรภ์ ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง

18 November 2017
10415 view

การตรวจครรภ์ 

คุณแม่มือใหม่หลายท่านคงจะสงสัยว่าทำไมต้องฝากครรภ์ ทำไมต้องตรวจครรภ์ให้ยุ่งยากและเสียเวลา การฝากครรภ์นั้นจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์มากที่สุด และคุณแม่สามารถคลอดบุตรได้อย่างปลอดภัย เมื่อฝากครรภ์แล้วจะได้รับการตรวจครรภ์ แพทย์หรือผู้ผดุงครรภ์จะนัดคุณแม่ตรวจความเจริญเติบโตและความผิดปกติของทารกในครรภ์ทุกระยะของการตั้งครรภ์ และจะนัดตรวจถี่ขึ้นเมื่อช่วงอายุครรภ์มากขึ้น  

การฝากครรภ์เพื่อการตรวจครรภ์ 

คุณแม่ควรฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ว่า "ตั้งครรภ์" และควรฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 3 เดือน เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายจะสร้างอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ การฝากครรภ์กับแพทย์หรือคลินิกสุขภาพในครั้งแรก มักใช้เวลานานและมีรายละเอียดมากกว่าการไปตรวจครั้งต่อๆไป ขั้นตอนการฝากครรภ์คุณแม่จะถูกซักถามเกี่ยวกับภูมิหลังทางการแพทย์ วิธีการดำเนินชีวิต รวมถึงประวัติครอบครัวในเรื่องต่างๆ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม การมีแฝด จะมีการตรวจสุขภาพของเต้านม หัวใจและปอด การคลำท้องตรวจคอมดลูด วัดน้ำหนักและส่วนสูง จะได้รับการทดสอบหลายอย่างได้แก่ การทดสอบเลือด การวัดความดันเลือด การตรวจปัสสาวะ  และอาจจะได้รับวิตามินไว้รับประทานสำหรับช่วงตั้งครรภ์ด้วย

การตรวจครรภ์สำคัญอย่างไร

คุณเเม่และลูกในครรภ์จะถูกเฝ้าสังเกตความเป็นไปโดยแพทย์หรือผู้ผดุงครรภ์ อาจมีการพูดคุยเรื่องอาการ เรื่องการออกกำลังกาย และคุณแม่ควรพูดคุยถึงปัญหาต่างๆที่พบ ถามในเรื่องที่กังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ควรเตรียมรายการที่ต้องการถามไว้ล่วงหน้านั้นเป็นสิ่งที่ดี ป้องกันการลืมเมื่อเข้าพบแพทย์ คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับวันเวลานัด อย่าผิดนัดการตรวจครรภ์

การนัดหมายและการตรวจครรภ์ในแต่ละไตรมาส 

การนัดหมายต่างๆในการตรวจครรภ์ แม้การไปพบและกำหนดเวลาทำการทดสอบระหว่างตั้งครรภ์จะแปรผันได้ตามแพทย์และโรงพยาบาลและสถานการณ์ส่วนบุคคล Mama Expert จึงนำกำหนดช่วงวันนัดที่เหมาะสม และการดำเนินการในการตรวจครรภ์แต่ละครั้ง มาฝากว่าที่คุณแม่ ดังนี้

การตรวจครรภ์ ไตรมาสที่ 1

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 8-12

  • กำหนดฝากครรภ์
  • อาจทำการทดสอบเลือดดูภาวะทางพันธุกรรม
  • ประมาณวันคลอด

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 11 และ 12

  • อาจสแกนระยะแรก/ดูอายุและวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารก
  • อาจเก็บตัวอย่างคอริโอนิกวิลไล
  • อาจตรวจคัดกรองซีรัม

การตรวจครรภ์ ไตรมาสที่ 2

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 13-15

  • อาจสแกนระยะแรก/ดูอายุและวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารก
  • อาจเก็บตัวอย่างคอริโอนิกวิลไล
  • อาจตรวจคัดกรองซีรัม

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 16

  • นัดตรวจครรภ์
  • แพทย์อาจแนะนำให้ทดสอบเลือดดูดาวน์ซินโดรม
  • อาจสแกนดูความผิดปกติ
  • อาจทำการเจาะถุงน้ำคร่ำ
  • อาจตรวจคัดกรองซีรัมรวมถึงทดสอบแอลฟาฟีโทโปรตีน(เอเอฟพี)

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 17

  • อาจตรวจคัดกรองซีรัมรวมถึงทดสอบแอลฟาฟีโทโปรตีน(เอเอฟพี)
  • อาจทำการเจาะถุงน้ำคร่ำ

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 18

  • อาจตรวจคัดกรองซีรัมรวมถึงทดสอบแอลฟาฟีโทโปรตีน(เอเอฟพี)
  • อาจสแกนดูความผิดปกติ
  • อาจทำการเจาะถุงน้ำคร่ำ

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 20-23

  • นัดตรวจครรภ์
  • อาจตรวจคัดกรองซีรัมรวมถึงทดสอบแอลฟาฟีโทโปรตีน(เอเอฟพี)
  • อาจสแกนดูความผิดปกติ
  • อาจเจาะตรวจเลือดทารกในครรภ์

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 24

  • นัดตรวจครรภ์
  • อาจเจาะตรวจเลือดทารกในครรภ์

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 26-27

  • อาจตรวจหากลูโคส
  • อาจเจาะตรวจเลือดทารกในครรภ์

การตรวจครรภ์ ไตรมาสที่ 3 

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 28,30,32 และ 34

  • นัดตรวจครรภ์
  • แพทย์อาจแนะนำให้ทดสอบเลือดดูภาวะเลือดจาง และ/หรือตรวจหากลูโคส
  • อาจเจาะตรวจเลือดทารกในครรภ์

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 36

  • นัดตรวจครรภ์
  • แพทย์อาจแนะนำให้ทดสอบหาเชื้อสเตรปกรุ๊ปบี
  • อาจเจาะตรวจเลือดทารกในครรภ์

การตรวจครรภ์ สัปดาห์ที่ 37-40

  • นัดตรวจครรภ์
  • ประเมินขนาดและท่าทารก
  • อาจเจาะตรวจเลือดทารกในครรภ์

เมื่อคุณแม่ "ตั้งครรภ์" คุณแม่จะต้องพบแพทย์หรือผู้ผดุงครรภ์เป็นประจำตลอดในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณเเม่และทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์มากที่สุด และคุณแม่สามารถคลอดบุตรได้อย่างปลอดภัยค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. เทคนิคการเลือกสถานที่ ฝากครรภ์ สำหรับคุณแม่มือใหม่

2. ประเภทของ อัลตราซาวด์ตอนตั้งครรภ์ และค่าใช้จ่ายในการทำอัลตราซาวด์

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Edutorial Team

อ้างอิง :

  1. คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่.Dr.Jane MacDougall.การบริบาลสตรีตั้งครรภ์.หน้า20.(2555).กรุงเทพ:สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส จำกัด.[ค้นคว้าเมื่อ 2 ตุลาคม 2560]