โรคไซนัสอักเสบในเด็ก ที่คุณแม่อาจแยกไม่ออกระหว่างหวัด ภูมิแพ้ และไซนัส

03 March 2016
17950 view

 โรคไซนัสอักเสบในเด็ก





โรคไซนัสอักเสบในเด็ก
 พบได้บ่อยเช่นกัน เป็นอีกโรคที่คุณพ่อคุณแม่มักมองข้าม เนื่องจากมีความคล้ายคลึงและไกล้เคียงกับโรคหวัดและภูมิแพ้ จึงแยกไม่ออก กว่าจะพาลูกไปพบแพทย์ ลูกก็กลายเป็นไซนัสเรื่อรังไปซะเเล้ว

อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ของโรคไซนัสอักเสบในเด็ก

  1. ลูกเป็นหวัดรุนแรงเกิน 10 วัน
  2. ลูกมีน้ำมูกไหลข้นเขียว
  3. ลูกไอกลางคืนมากกว่าปกติ เนื่องจากขณะหลับมีเสมหะไหลลงคอกระตุ้นให้เกิดอาการไอ
  4. ลูกอาการคัดจมูกแน่นจมูก เด็กพูดได้อาจบ่นปวดบริเวณรอบ  ๆ  จมูก หรือหัวคิ้วหน้าผาก เด็กเล็กจะร้องกวนโยเย
  5. ลมหายใจของลูกมีกลิ่นเหม็น
  6. บางครั้งการรับรู้กลิ่นจะสูญเสียไป(ในเด็กพิสูจน์ยาก )
  7. ลูกอาจบ่น ปวดศรีษะ โดยเฉพาะเวลาเช้า เนื่องจากเวลาเรานอนหลับจะเกิดการคั่งค้างของหนองภายในโพรงไซนัส จนเกิดการสะสมของของเหลวเป็นจำนวนมากภายใต้แรงกดดันภายในโพรงไซนัส  จึงทำให้เกิดการปวดขึ้น

ควรพาลูกไปพบแพทย์เมื่อไหร่ อย่างไร 

  1. หากพบว่ามีอาการหัวเกิด 10 วันควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย แพทย์จะตรวจดูภายในช่องจมูกจะพบน้ำมูกข้นเขียวไหลออกมาจากรูเปิดของไซนัสซึ่งอยู่ด้านข้างของช่องจมูก  เยื่อบุจมูกบวมแดง  กดเจ็บบริเวณโหนกแก้ม หัวคิ้วและหน้าผากที่เป็นที่ตั้งของโพรงไซนัส   ถ้าตรวจในช่องปากจะพบว่ามีน้ำหนองไหลย้อยลงมาจากจมูกส่วนหลังลงสู่ลำคอ 
  2. อาจส่งเอกซเรย์ ร่วมด้วย ถ้ามีไซนัสอักเสบจะพบว่า โพรงไซนัสทึบกว่าปกติ

การรักษา โรคไซนัสอักเสบในเด็ก

  1. รับประทานยาปฏิชีวนะ   เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบนาน 10 – 14 วัน หากตรวจพบว่าเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง ลูกอาจรับประทานยาปฎิชีวนะ 6 – 8 สัปดาห์
  2. รับประทานยาลดบวมของเยื่อบุจมูก เพื่อลดอาการคัดจมูกและอาการบวมของเยื่อบุจมูกทำให้น้ำมูกไหลเวียนได้ดีขึ้นจากช่องจมูก
  3. รับประทานยาละลายเสมหะเพื่อลดความเหนียวของน้ำมูกและลดอาการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงไซนัส
  4. ล้างจมูก เช้า – เย็น ด้วยน้ำเกลือ นอร์มัลซาไลน์ ( 0.9 % NSS )
  5. ไซนัสอักเสบรุนแรงแพทย์จะรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อน จากการไม่รักษาโรคไซนัสอักเสบในเด็ก

หากคุณพ่อคุณแม่ ไม่ใส่ใจพาลูกไปตรวจรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ไซนัสอักเสบอาจจะลุกลามเข้าสู่ลูกตาทำให้เกิดภาวะลูกตาอักเสบได้  หรือลุกลามติดเชื้อเข้าไปในสมองทำให้เกิดเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบและฝีในสมองได้  ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญ  ถึงแม้จะไม่พบบ่อยก็ตาม  ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวัง

การรักษา โรคไซนัสอักเสบในเด็ก

การป้องกัน โรคไซนัสอักเสบในเด็ก

ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัดโดยการออกกำลังกาย  พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด แค่นี้ลูกรักก็ห่างไกลจากไซนัสอักเสบได้แล้วการป้องกันลูกรักห่างไกลจากไซนัสอักเสบทำได้ไม่ยาก เนื่องจากไข้หวัดเป็นสาเหตุสำคัญ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กที่คุณแม่ต้องรู้

2. ประเภทของผดผื่นในเด็ก และการดูแลผื่นที่ถูกต้องให้ผื่นหายเร็ว

3. 3 วิธีรักษาหวัดลูกให้หายขาดจากหัวหอม

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณภาพประกอบ : www.smartdreams.com