เคล็ดลับช่วยเพิ่มความสูงตามวัย และ ความสูงโดยเฉลี่ยของลูก จากตั้งไข่จนถึงวัยรุ่น

05 May 2015
20206 view

ความสูงโดยเฉลี่ยของลูก

ความสูงโดยเฉลี่ยของลูกรัก จากตั้งไข่จนถึงวัยรุ่น

ในช่วงขวบปีเเรกลูกรักจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมาก พรุ่งพรวดอย่างชัดเจน เมื่อลูกรักของคุณอายุครบ 1 ปี ความยาวโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 75 เซนติเมตร น้ำหนักตัว เพิ่มเป็น 3 เท่าของวันแรกคลอด แต่หลังจากวัย1 ปี อัตราการเจริญเติบโต โดยเฉพาะความสูงจะเริ่มลดลง เป็นการเจริญเติบโตเเบบค่อยเป็นค่อยไป  ความสูงของลูกถูกกำหนดด้วยปัจจัยหลักดังต่อไปนี้

1.พันธุกรรม ค่อนข้างชัดเจน ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมได้ หากพ่อแม่ไม่สูง ลูกก็มีส่วนที่จะไม่สูงได้เช่นกันแต่สามารถส่งเสริมได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมวลกระดูก นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

2.ฮอร์โมน ที่เกี่ยวข้องการความสูงและการเจริญเติบโตโดยตรง คือ โกรท์ฮอร์โมน (Growth Hormone) หน้าที่ของฮอร์โมนชนิดนี้ คือเพิ่มการเติบโตของเชลล์ เนื้อเยื่อต่างๆรวมถึงอวัยวะของร่างกาย โกรท์ฮอร์โมน จะทำให้กระดูกมีความยาวมากขึ้น กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่มากขึ้น โกรท์ฮอร์โมจะผลิตมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

ความสูงโดยเฉลี่ยของลูกรักตามช่วงวัย

  • วัยแรกเกิด – 1 ปี  อัตราการเพิ่มของความสูง  23 – 27 เซนติเมตร ต่อปี
  • อายุ 1 – 2  ปี  อัตราการเพิ่มของความสูง  10 – 12  เซนติเมตร ต่อปี
  • อายุ 2 – 4  ปี  อัตราการเพิ่มของความสูง  6 – 7  เซนติเมตร ต่อปี
  • ก่อนเข้าสู่วัยรุ่น  อัตราการเพิ่มของความสูง  4 – 5.5  เซนติเมตร ต่อปี
  • ช่วงวัยรุ่น เด็กหญิง   อัตราการเพิ่มของความสูง  7 – 10  เซนติเมตร ต่อปี
  • ช่วงวัยรุ่น เด็กชาย   อัตราการเพิ่มของความสูง  8 – 12  เซนติเมตร ต่อปี

การเจริญเติบโตของลูกจะกลับมาพุ่งพรวดอีกครั้งในช่วงวัยรุ่น โดยช่วงวัยรุ่นภายใน 1-2 ปี ลูกของคุณจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเห็นการเปลี่ยนเเปลงที่ชัดเจน ทางการแพทย์ เรียกการเจริญเติบโตดังกล่าวว่า  Pubertal growth spurt ในวัยรุ่นจะมีการเจริญเติบโตที่เด่นชัดด้านเพศควบคู่ไปด้วย และจะหยุดการเจริญเติบโตเมื่อเซลล์กระดูกปิด เด็กหญิงจะหยุดเจริญเติบโตเมื่ออายุเฉลี่ย 14 – 16 ปี หรืออายุกระดูก16ปีส่วนในเด็กชายจะหยุดเจริญเติบโตเมื่ออายุ 6- 18 ปี หรืออายุกระดูก 18 ปีหรือมีเสียงแตกมาแล้ว 4 ปี

ทำอย่างไรให้ลูกสูง

1.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ช่วงเวลาหลัง 22.00 น. โกรท์ฮอร์โมนถูจะหลั่งออกมาหากนอนหลับสนิท เพราะฉะนั้นลูกรักควรนอนวัน ละ 8 ชั่วโมง (หรือตามช่วงวัยที่เหมาะสม )

  • อายุ 1 ปี ควรนอนได้ประมาณ 13.75 ชั่วโมง ( 2 งีบ)
  • อายุ 18 เดือน ควรนอนได้ประมาณ 13.5 ชั่วโมง ( 1 งีบ)
  • อายุ 2 ปี ควรนอนได้ประมาณ 13 ชั่วโมง ( 1 งีบ)
  • อายุ 3 ปี ควรนอนได้ประมาณ 12 ชั่วโมง ( 1 งีบ)
  • อายุ 4 ปี ควรนอนได้ประมาณ 11.5 ชั่วโมง
  • อายุ 5-9 ปี ควรนอนได้ประมาณ 10-11 ชั่วโมง
  • อายุ 10-15 ปี ควรนอนได้ประมาณ 9-10 ชั่วโมง

2.รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ไม่มุ่งเน้นแค่แคลเซี่ยมเพียงอย่างเดียว เพราะสารอาหารหลัก 5 หมู่ ก็ส่งผลต่อการเจริญเติบของร่างกายด้วยเช่นกัน

3.ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสมตามช่วงวัย

บทความแนะนำเพิ่มเติม 

1. ความสูงลูกตกเกณฑ์ เพราะฮอร์โมนบกพร่อง

ผู้เขียน : พว. นฤมล  เปรมปราโมทย์

แหล่งข้อมูล

  1. Puberty – http://en.wikipedia.org/wiki/Puberty [2015,May 5].
  2. Growth_hormone-http://en.wikipedia.org/wiki/Growth_hormone [2015,May 5].
  3. Growth and Changes During Pubertyhttp://kidshealth.org/parent/growth/growth/growth_13_to_18.html [2015,May 5].
  4. ลูกตัวเตี้ยกับคำถามที่พ่อแม่อยากรู้-https://www.bumrungrad.com/healthspot/February-2012/short-stature-in-children[ค้นคว้าเมื่อ2015,May 5].
  5. Solve Your Child’s Sleep Problems (Simon & Schuster, 1986) by Richard Ferber, MD