โรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล รู้ได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ด้วยการอัลตราซาวด์

01 February 2015
2750 view

โรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล

โรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีลเป็นโรคที่คุณแม่ไม่คุ้นหู แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถเห็นจากการอัลตราซาวด์ (บางกรณี) โรคดังกล่าวส่งผลต่อภาวะสุขภาพลูกเป็นอย่างมาก มีรายละเอียดตามนี้...


โรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีลอันตรายไหม

โรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล (Myelomeningocele)โรคประหลาดสำหรับบุคคลทั่วไป เพราะนานๆจะประสบพบเจอ แต่ทางการแพทย์ พบได้บ่อย ในทารกแรกเกิด ความผิดปกติพบใน 2-3 สัปดาห์ ของการตั้งครรภ์ ส่งผลแต่การเจริญเติบโตของตัวอ่อนให้ไม่เชื่อมที่บริเวณหลังส่วนเอว ฉะนั้นไขสันหลังเกิดได้ไม่สมบูรณ์และเป็นแผ่นแบนอยู่ที่ผิวของร่างกายล้อมรอบด้วยผิวหนัง เนื่องจากไขสันหลังเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อขาก็ไม่สมบูรณ์ด้วย ทำให้เกิดอัมพาตของขาแต่กำเนิด นอกจากนี้หลังคลอด ไขสันหลังที่ไม่มีกระดูกปกคลุมนี้ จะได้รับภยันตรายง่าย และจะเสียหน้าที่ไปเนื่องจากการติดเชื้อ ความแห้งและภยันตรายจากการกระทบกระแทก หลังคลอดจะมีน้ำรวมตัวอยู่ใต้แผ่นไขสันหลังและดันแผ่นนี้ขึ้น ซึ่งจะทำให้มีภยันตรายมากขึ้นโดยการดึงแผ่นไขสันหลังหรือรากประสาท

สาเหตุการเกิดโรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล 

ยังไม่ทราบแน่ชัดคาดว่าเป็นกรรมพันธุ์ แต่วิธีถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอาจมีความสำคัญการผิดปรกติที่ไขสันหลัง ทำให้เกิดอัมพาตของขา ซึ่งอาจเป็นอย่างสมบูรณ์หรือบางส่วนและทำให้มีอาการดังต่อไปนี้

อาการโรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล 

1. ภาวะอัมพาตและความรู้สึกที่เสียไป ร่วมกับการผิดรูปอัมพาตทำให้เกิดการผิดรูปที่ขา เนื่องจากแรงของกล้ามเนื้อไม่เท่ากัน เกิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และการผิดรูปมักจะคงเดิมก่อนเด็กเกิด การผิดรูปจะเพิ่มขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น

2. ระบบขับถ่ายผิดปกติ ปัสสาวะคั้งและกลั้นไม่ได้ ทำให้ขับถ่ายปัสสาวะได้ช้าและมีแรงดันย้อนกลับ (Back Pressure) นำการติดเชื้อสู่ไต อาจทำให้เกิด ฮัยโดรเนโฟรซิส (Hydronephrosis)และพัยอีโลเนไฟรติส (pyelonephritis) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย

3. ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้เนื่องจากหูรูดทวารหนักเป็นอัมพาต

4. ส่วนมากมีการผิดของกระดูกสันหลัง คือ หลังค่อม (Kyphosis) หรือสันหลังคด (Scoliosis) ภาวะนี้ขึ้นอยู่กับระดับของอัมพาต ธรรมดา จะอยู่ต่ำกว่าระดับกระดูกสันหลังส่วนอกอันที่ 12 แต่อาจขึ้นไปสูงเล็กน้อยได้

การรักษาโรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล 

เนื่องจากเป็นโรคที่ซับซ้อน ในการรักษาจึงต้องมีแพทย์หลายสาขาเข้ามาร่วมรักษา คือมีกุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ทางประสาท ศัลยแพทย์ทางระบบปัสสาวะ และศัลยแพทย์ทางออร์โธปีดิกส์ นักกายภาพบำบัดและนักสังคมสงเคราะห์ก็มีบทบาทสำคัญด้วยเหมือนกัน จะต้องมีการพิจารณาระยะยาวในด้านการศึกษาและการทำงานหาเลี้ยงชีพ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นด้วย

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. โรคร้ายที่พบในเด็กแต่ละช่วงวัย

2. ภาวะลำไส้กลืนกัน โรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก

3. ลูกซีด

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team