เขย่าเด็ก เชคเด็กไปมา อันตรายต่อสมอง พ่อแม่ต้องระวัง

14 December 2017
47473 view

เขย่าเด็ก

อันตรายของการ เขย่าเด็ก ( Shaken Baby Syndrome ) 

คุณพ่อคุณแม่ หยอกล้อลูกด้วยการ เขย่า หรือ โมโห จึงจับเขย่าๆ ไม่ว่าจะ เขย่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม การกระทำดังกล่าว ส่งผลต่อสมองลูกอย่างรุนแรงค่ะ บางรายอันตรายถึงชีวิตทีเดียว ทางการแพทย์เรียกการตายของเด็กจากการถูกเขย่าว่า Shaken Baby Syndrome จาการรายงานทงการแพทย์ ทั้งไทยและต่างประเทศพบว่า เด็กถูกกระทำ Shaken หลายๆรูปแบบเช่น โดยเขย่าอย่างรุนแรง กระแทกกับที่นอน กระแทกกับหมอน การกระทำดังกล่าวมีผลต่อสมองลูกมีโอกาสจะกลายเป็นเด็กพิการตลอดชีวิตหรือเสียชีวิตก็ยิ่งมีมาก เด็กที่โดนเขย่ารุนแรงหลายๆ รายมักไม่เห็นร่องรอยของการบาดเจ็บจากภายนอก ไม่ได้รีบส่งมารักษา ทั้งที่มีอาการของ Shaken Baby Syndrome จึงมีโอกาสเสียชีวิตสูงพบ 1ใน3 ราย ที่เหลือรอดก็มีโอกาสตาบอด เป็นลมชัก หรือถ้ารอดก็มักมีปัญหาด้านการเรียนรู้ หรือสติปัญญาต่อไป 

เหตุการจำลองแบบละเอียด เพื่อให้คุณพ่อ คุณแม่เข้าใจ ว่าทำไมสมองลูกถึงได้รับอันตรายเมื่อถูกเขย่าแรงๆ

ตัวอย่างเด็กที่ได้รับอันตรายจากการเขย่า

1.เคสตัวอย่างเสียชีวิต


เด็กแบเบาะ ผู้เลี้ยงอุ้มมาพบแพทย์ ด้วยอาการชัก หยุดหายใจ เป็นช่วงๆ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา แพทย์ได้ทำการผ่าเพื่อชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิต พบว่า มีเลือดออกนอกสมองปริมาณมาก แต่สภาพศพภายนอกของทารกไม่มีร่อยรอยแต่อย่างใด

2. เคสตัวอย่าง เด็กวัยแบบเบาะตาบอด จากการเขย่า

จากการสอบถามผู้เลี้ยง ให้ประวัติว่าได้เขย่าเด็กอย่างรุนแรง

สาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตจากการเขย่า อธิบายได้ดังนี้

การถูกเขย่าอย่างรุนแรงและกระชากกลับอย่างรวดเร็ว การกระทำดังกล่าว เปรียบได้กับการขับรถพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แล้วเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน การถูกแรงเหวี่ยงไปอย่างรุนแรงและรวดเร็ว มีผลให้เส้นเลือดเล็กๆ ที่เชื่อมกันระหว่างเนื้อเยื่อของสมองฉีกขาดแล้วเลือดออก (เขย่าไปด้านข้าง เลือดก็จะออกจากสมองด้านข้าง ถ้าเขย่าไปด้านหน้าเลือดก็จะออกจากสมองด้านหน้า) เส้นเลือดใหญ่ในสมองที่ยังไม่แข็งแรงของเด็กอ่อน ก็จะเกิดการแตกปริ ฉีกขาด และมีเลือดออกได้ สมองของเด็กวัยแบเบาะมีส่วนที่เป็นน้ำมากกว่าส่วนที่เป็นเนื้อสมอง การเขย่าไปมาจึงทำให้เนื้อสมองแกว่งไป แกว่งมา แล้วไปกระทบกระแทกกับกะโหลกศีรษะ จนสมองบอบช้ำเสียหาย นอกจากนั้นเส้นเลือดใหญ่ในสมองที่ยังไม่แข็งแรงของเด็กอ่อน ก็จะเกิดการแตกปริฉีกขาด มีเลือดออกได้เช่นกัน หากลูกคุณได้รับการเขย่าอย่างรุนแรง คุณพ่อคุณแม่ควร รีบพาลูกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

อาการแสดงที่บ่งบอกว่าลูกได้รับอันตรายจากการถูกเขย่าดังนี้

  1. อาเจียนพุ่ง
  2. หายใจลำบาก
  3. ซึมไม่ดูดนม
  4. ดูดนมมากเกินปกติ
  5. ร้องงอแงตลอด

หากพบอาการผิดปกติดังกล่าว ต้องปรึกษาแพทย์เป็นการด่วน เพื่อตรวจวินิจฉัยได้ทันท่วงที

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่  :

1. การดูแลเมื่อลูกชักจากไข้สูงและสิ่งที่ห้ามทำเมื่อลูกชัก

2. 15 สิ่งเล็กๆ ที่พ่อแม่ควรทำ เพื่อสื่อกับเบบี๋ว่า...พ่อแม่รักลูก

3. กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก เกิดจากพ่อแม่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team