ไข้ !!! ชัก!!! ไข้ชัก!!! กับความเชื่อผิดๆ ที่อันตรายถึงชีวิต!!!

10 April 2019
2521 view

ไข้ชัก

Q: บางทีลูกมีไข้หนาวสั่น แม่บางคนนึกว่าเป็นไข้ชักได้นะจ้ะ .. แล้วจะแยกกันยังไง?
A: ไข้ชักส่วนมาก เด็กจะมีอาการตาค้าง ไม่รู้สึกตัว แขนขาเกร็งหรือกระตุก อาจมีปัสสาวะหรืออุจจาระราด ส่วนในไข้หนาวสั่น เด็กยังรู้สึกตัว ตอบสนองต่อเสียงได้ เช่น เรียกแล้วหัน หรือตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง ไม่มีตาเหลือกค้าง

Q: เวลาลูกชัก สติหด ...ทำไงก่อนดี ..ใช้อะไรงัดปากลูกดี?
A: อันดับแรก คือ.. กวักมือเรียกสติกลับมาก่อนค่ะ ปลอบตัวเองก่อนว่า ไข้ชักไม่ทำให้ลูกตาย แต่ลูกจะตายถ้าเราดูแลผิดๆ ค่ะ สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วบอกตัวเองเบาๆ ว่า .. สู้เว้ยยยย! นึกอะไรไม่ออก จับลูกนอนตะแคงก่อน แล้วทำตามนี้เลยจ้า

1. จับลูกนอนตะแคง (ข้างไหนก็ได้ค่ะ) ไม่หนุนหมอน เพื่อให้ศีรษะต่ำ น้ำมูกน้ำลายไหลออกมุมปาก (ลูกจะได้ไม่สำลักน้ำลาย ลงหลอดลมตัวเองค่ะ)
2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม เคลียร์พื้นที่รอบๆ ให้ปลอดภัยจากสิ่งกีดขวาง (ไม่ให้ลูกเตะโต๊ะเตะเก้าอี ้)

3. ห้ามงัดปาก/ห้ามงัดข้อ
- ห้ามงัดปาก คือ ห้าม!!เอาอะไรยัดปาก ไม่ว่าจะเป็นผ้ายัด ช้อนงัด ปากกางัด นิ้วแม่ล้วง เพราะไข้ชักไม่เคยมีใครกัดลิ้นตัวเองขาด แต่!!การยัดสิ่งต่างๆ เข้าปาก จะยิ่งทำให้เด็กหายใจไม่ออก บางครั้งฟันลูกหลุด ลงไปอุดหลอดลมเสียชีวิตได้ค่ะ ฉะนั้น .. เรื่องการพิสูจน์รักโดยการเอานิ้วตัวเองยัดปากคนชัก ผิด!!นะคะ ไม่ต้องเอาอะไรเข้าปากเลย เจอใครทำแบบนี้ ้ บอกเลยค่ะว่า out!! ไปแล้วจ้ะ
- ห้ามงัดข้อ คือบางคนเห็นลูกชัก พยายามจับแขน กดขา งัดข้อ .. ไม่ต้องนะคะ จับไปไม่ช่วยอะไรเลย จับแรงไปลูกกระดูกหักแทนค่ะ

อ้าว? งั้นให้ยืนทำอะไรล่ะ สรุปจับลูกนอน..แล้วไงต่อ? .. สิ่งที่ต้องทำคือเตรียมอุปกรณ์เช็ดตัวค่ะ

4. เช็ดตัวให้ลูก อุปกรณ์มีกะลังมัง ใส่น้ำก๊อก (อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อน ไม่เย็น) 

ผ้าเช็ด 3-5 ผืน เริ่มจากโปะผ้าที่หัว+คอ+ ซอก (ซอกรักแร้ ซอกขาหนีบ) แล้วเช็ดแขนขาหลังท้อง โดยย้อนเข้าหัวใจ หมั่นเปลี่ยนผ้าที่โปะหัว+คอ+ซอกทั้งหลายบ่อยๆ เมื่อผ้าเริ่มร้อน อย่างน้อย 10-15 นาที
 

5. เมื่อลูกเริ่มรู้สึกตัว ค่อยให้ทานยาลดไข้ค่ะ เนื่องจากถ้าลูกกำลังชัก การกรอกยาเข้าปากลูกจะทำให้ลูกสำลักได้ ที่สำคัญคือ เมื่อลูกมีอาการชัก คุณแม่ส่วนมากมักตกใจจนจำไม่ได้ว่าลูกชักยังไง จริงๆ ลักษณะที่ลูกชักสำคัญมากค่ะ ต้องสังเกตว่าลูกชักแขนขาซ้ายขวาเท่ากันไหม เพราะถ้าชักแขนขา/ซ้ายขวาไม่เท่ากัน หรือชักนานเกิน 5 นาที อาจไม่ใช่ไข้ชักธรรมดา ถ้าไม่แน่ใจ .. หลังจากควักโทรศัพท์เรียกรถไป รพ.แล้ว ถ่ายคลิปตอนน้องชักไว้ด้วยเลยค่ะ แล้วเอาให้หมอดูตอนถึง รพ.

ข้อบ่งชี้ที่ต้องนำส่งรพ. เมื่อ
- อายุ<6 br="">- ชักครั้งแรก
- ชักนาน >5 นาที
- ซึม ไม่ตื่น >1 ชั่วโมง
- ชักแบบ แขนขา/ซ้ายขวา ไม่เท่ากันทั้ง 4 รยางค์
- ชักแล้วชักอีก ชักช้าๆ ตั้งแต่เป็นไข้รอบนี้
- หรืออาการอื่นๆที่คุณแม่สงสัย ใจคอไม่ดี สามารถนำส่ง รพ. ได้เลยค่ะ

Q: มียาฉีดลดไข้ไหม
A: มีค่ะ แต่อย่าฉีดเลย .. อ้าว ไหงงั้น?
ยาฉีดลดไข้ที่ฉีดตามคลินิก มักมีส่วนผสมของ เสตียรอยด์ หรือ ยาแก้อักเสบแบบแรง
- ยาเสตียรอยด์ มีฤทธิ์กดภูมิต้านทาน ทำให้ไข้ลงแต่ภูมิคุ้มกันร่างกายจะอ่อนแอ ทำให้เชื้อโรครุนแรงกว่าเดิมได้ค่ะ
- ยาแก้อักเสบแบบแรง (NSAID) มีผลข้างเคียงคือ ทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ .. ถ้าใครมีข้อห้ามใช้ หรือเป็นไข้จากไข้เลือดออก ก็..ซวยไปจ้ะ

สรุปคือ ไข้ในเด็ก ไม่แนะนำให้ฉีดยาลดไข้ค่ะ.. ยาฉีดน่ะมีอยู่ แต่มีข้อเสียมากกว่าข้อดี เพราะจริงๆ แล้ว ไข้คือกลไกฉลาดของร่างกาย ที่สมองสั่งไว้เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคเพียงแต่ไข้ อาจทำให้เด็กไม่สบายตัว แต่ทานยาลดไข้ + เช็ดตัว เป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ ถ้าเราใช้วิธีผิดๆ เพียงเพื่อให้ไข้ลง อาจส่งผลเสียกับลูก และเป็นอันตรายค่ะ

Q: ไข้ชัก เกิดจากอะไร เป็นกันทุกคนไหม? เกี่ยวกับสมองลูกไม่ดีหรือเปล่า?
A: ไข้ชักเกิดในเด็ก 6 เดือน- 5 ปี ค่ะ แก่กว่านี้ไม่เป็นแล้ว เพราะสมองเด็ก <5 span="">ไม่เกี่ยวกับว่าสมองลูกดีหรือไม่ดี /ฉลาดหรือไม่ฉลาด โดยไข้ที่ทำให้ชักได้ คือ >38 องศาขึ้นไปค่ะ ส่วนมากมักมีประวัติพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติสายตรง เป็นเหมือนกันตอนเด็กๆ พอโตมาก็หาย (คือโตเกิน 5 ขวบนั่นเอง)

Q: ป้องกันได้ไหม เคยได้ยินว่ามียาป้องกันชัก
A: ยาที่ใช้ในการป็องกัน เนื่องจากมันต้องกดการชัก จึงมีฤทธิ์กดการทำงานของสมอง เด็กจะง่วงซึม ทำให้เรายิ่งสังเกตอาการซึมจากโรค (ซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย) ได้ยากค่ะ พอลูกซึมเราจะไม่รู้ล่ะว่าเป็นจากยา หรือเป็นจากโรค
ถ้าน้องมีไข้ แนะนำทานยา และเช็ดตัวให้ไข้ลด เป็นการป้องกันชักที่ดีสุดค่ะ ยาป้องกันชัก แพทย์จะพิจารณาให้ในเคสหนัก หรือมีอันตรายจากการชักมากจริงๆ

Q: ยาลดไข้ สรุปมันมีแบบไหนบ้าง? แล้วกินยังไง ?
A: ยาลดไข้ หมอแบ่งเป็น 2 กลุ่มค่ะ
1. ยาลดไข้ปกติ คือพารา (พาราเซตตามอล / paracetamol)
2. ยาลดไข้แบบแรง เช่น แอสไพริน(aspirin) และ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen หรือ พวกยี่ห้อที่ลงท้ายด้วย –เฟน)

แนะนำให้ใช้พารา ปลอดภัยที่สุด ยาลดไข้กลุ่มเฟนๆ และแอสไพริน ไม่แนะนำให้ซื้อทานเองค่ะ เนื่องจากมีผลเสียทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ เลือดออกง่าย และอาจเกิด Reye syndrome มีผลกับสมองและตับ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

Q: เช็ดตัวทีไร ลูกร้องตลอด มีวิธีเช็ดยังไงไม่ให้ลูกร้องไหม?
A: คำตอบคือ ... ไม่มีค่ะ 555 ... อย่าตีหมอนะ ถ้าลูกไม่ร้อง ไข้ไม่ลงค่ะแม่ อันนี้หมอพูดจริง เพราะการเช็ดตัวต้องถูให้ความร้อนมันระบายออกมา ถ้าเช็ดแบบสะกิดเบาๆ กลัวลูกเจ็บ ยังไงความร้อนก็อยู่อย่างนั้น ไข้ก็ไม่ลงค่ะ .. ลูกจะร้องเฉพาะตอนเช็ดตัว หลังไข้ลงเค้าก็สบายตัว นอนฟิน ดีกว่าปล่อยให้ลูกชักนะคะ

Q: ไข้ชัก มีผลต่อพัฒนาการของลูกไหม?
A: ไข้ชักธรรมดา ไม่มีผลกับพัฒนาการของลูกค่ะ ส่วนไข้ชักที่ไม่ธรรมดา คือไข้ชักที่ชักแขนขาไม่เท่ากันซ้ายขวาชักนาน ชักซ้าๆๆๆๆ บ่อยๆ

Q: พี่เค้าก็ชัก แล้วลูกคนต่อไปมีโอกาสชักไหม
A: มีค่ะ เนื่องจากส่วนหนึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม ถ้ามีประวัติพี่เคยไข้ชัก โอกาสเกิดในน้องก็ 20% ถ้าพ่อแม่พี่น้องเป็นกันทั้งบ้าน โอกาสที่ลูกจะชักก็ 25-40%

สุดท้ายนี้ ไม่อยากให้แม่ๆ มองว่าไข้คือผู้ร้ายนะคะ จริงๆ ไข้ เป็นพระเอกหน้าโหด ที่คอยสู้กับเชื้อโรคให้เรา แต่มาทีไรลูกร้องไห้ทุกที หน้าที่แม่ๆ คือปลอบลูกด้วยยาลดไข้และการเช็ดตัวค่ะ แล้วรอพระเอกเค้าสู้กับเชื้อโรคสำเร็จเมื่อไร ไข้ก็จะลงเองค่ะ หมอขอเป็นกำลังใจให้พ่อๆ แม่ๆ ทุกคนนะคะ

บทความโดย: พญ.พรนิภา ศรีประเสริฐ (กุมารแพทย์)

ติดตามเรื่องเด็กๆ by หมอแอม ตอบทุกปัญหาเกี่ยวกับเด็ก
ในรูปแบบ VDO "ทุกวันพฤหัสบดี" ได้ที่ ช่อง youtube : 
Mamaexpert official