25 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไวรัสโรต้าเพื่อคุณแม่รู้รอบด้านป้องกันได้ดีกว่า

01 January 2017
4376 view

ไวรัสโรต้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไวรัสโรต้าคือ

ไวรัสโรต้า พบระบาดมากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 3 ขวบก่อให้เกิดภาวะท้องร่วงรุนแรง เชื้อไวรัสพบบ่อยที่สุด ในบรรดาเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงในเด็กเล็ก เมื่อเทียบกับอาการท้องร่วงที่มาจากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องสำคัญและคุณแม่จำเป็นมากๆที่ต้องรู้เท่าทันไวรัสตัวร้าย รายละเอียดมีดังต่อไปนี้ 

25 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไวรัสโรต้า

  1. อุณหภูมิเริ่มลดลง ความหนาว จะเป็นองค์ประกอบ หรือการลดลงของอุณหภูมิ จะเพิ่มขึ้น ต่ออุบัติการของท้องเสียไวรัสโรต้า
  2. โรต้าไวรัสได้ค้นพบ ตั้งแต่ปี 1973 โดยแพทย์หญิงชาวออสเตรเลีย Prof. Dr.Ruth Bishop และคณะ โดยดูจากกล้องจุลทัศน์ อิเลคตรอน มีรูปคล้ายวงล้อเกวียน (Roter) ต่อมา 1974 เลยตั้งชื่อตามรูปร่างว่า Rota หรือ Rotavirus โรต้า
  3. โรคนี้ทำให้เกิดไข้ อาเจียน และตามด้วย ท้องเสีย พบได้บ่อยในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี 
  4. ไวรัสโรต้า เป็น RNA ไวรัสที่เป็นชิ้นๆ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ จึงมีการจำแนกสายพันธุ์รูปแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่เอ เช่น H1N1, H3N2, H5N1 และ H7N9 ส่วนไวรัสโรตา จะเป็น G1P6, G2P8, G3P10 และ G4P6 เป็นต้น การแยกสายพันธุ์ จะจำแนกได้มากกว่า ไข้หวัดใหญ่เสียอีก
  5. ท้องเสียโรต้าไวรัส เป็นแล้วเป็นอีกได้ แบบไข้หวัดใหญ่ แต่การเป็นครั้งต่อๆ ไป อาการรุนแรงจะน้อยลง หรือพูดได้ว่า เด็กอาจจะมีการติดเชื้อแทบทุกปี แต่ ติดครั้งหลังๆ หรือโตขึ้นแล้ว จะมีอาการน้อย และจะไม่มีอาการ โรคจึงเป็นในเด็กเล็ก
  6. โรต้าไวรัส เป็นไวรัสที่พบได้ ทั้งในคนและสัตว์นานาชนิด แต่ส่วนใหญ่โรต้าไวรัสที่พบในคน จะเป็นโรตาเอ
  7. การพบในสัตว์ต่างชนิด จะพบมีการแลกชิ้นส่วนกันได้ และบางครั้งอาจเกิดสายพันธุ์ใหม่ได้ เช่นเดียวกับ ไข้หวัดใหญ่ เอ
  8. ผู้สูงอายุ หรือภูมิต้านทานต่ำ การติดเชื้ออาจ ทำให้มีอาการได้
  9. การติดเชื้อ โดยการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ปนเปื้อนเชื้อโรค และโรคนั้นอาจจะติดต่อ โดยทางระบบทางเดินหายใจได้
  10. โรคจะพบบ่อยในหน้าหนาว อุบัติการจะสูง ตามความหนาวที่เกิดขึ้น ยิ่งหนาวยิ่งพบมาก
  11. ระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 2 วัน หลังรับเชื้อ
  12. เชื้อติดได้ง่ายมาก ใช้จำนวนไวรัสที่น้อยมากๆ และเชื้อมีความคงทนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอากาศเย็น จึงติดจาก คนสู่คน โดยเฉพาะการทิ้งผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้กันมาก เป็นการแพร่กระจายที่ดี เพราะปริมาณโรคที่ออกมาในอุจจาระ ผู้ป่วย มีจำนวนมหาศาล
  13. อาการ จะเริ่มต้นไข้สูง อาเจียน แล้วตามด้วยท้องเสีย การถ่ายจะเริ่มถ่ายจากวันละน้อยครั้งและมากขึ้น ตามลำดับ และเวลาหาย จะหายหรือหยุดถ่ายทันที ไม่เหมือนอหิวาตกโรค วันแรกจะถ่ายมหาศาลและน้อยลงตามลำดับ ซึ่งตรงข้ามกัน ผมเป็น หมอรับปรึกษา จะดี เพราะถ่ายมาก จะส่งมาปรึกษา จุ่งขึ้นก็ หยุดถ่าย แสดวว่าผมเก่ง
  14. อาการท้องเสีย เกิดจากไวรัส ไปทำลายเยื่อบุลำไส้ ให้ villa สั้นลง พื้นที่ดูดซึมลดลง และยังทำลาย Na-K ATPase หรือการปั๊มโซเดียม ทำให้การดูดซึมโซเดียมเสีย
  15. เชื้อไวรัสจะทำลาย เยื่อบุผิวลำไส้ ทำให้การดูดซึมสารอาหารลดลง เอนไซม์ แลคเทสลดลง จึงย่อยนมที่มีน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ บางครั้งจำเป็นต้องที่ให้นม ที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส (ทั้งนมแม่และนมวัว มีน้ำตาลแลคโตส)
  16. น้ำตาลแลคโตส ที่ไม่ถูกย่อยจะถูกเฟอร์เมนท์เป็นกรด ทำให้เกิดการระคายเคือง เวลาถ่าย จึง “ก้นแดง”
  17. ในรายรุนแรง การขาดน้ำจะมาก จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล ให้นำ้เกลือ ชดเชยน้ำ และเกลือแร่ที่ขาดไป
  18. ท้องเสียโรตา เป็นได้ทั้งโลก ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนา
  19. การดูแลสุขอนามัย จะช่วยป้องกันโรคได้ แต่ไม่ทั้งหมด เพราะในหน้าหนาว โอกาสสัมผัสเชื้อ เกิดขึ้นได้ง่าย โดยเราไม่รู้ตัว โรคจึงเกิดได้ แม้ประเทศที่มีสุขอนามัยดีมาก เช่น สแกนดิเนเวีย ก็ยังพบโรคนี้ได้สูงเช่นกัน
  20. การขับถ่ายไวรัส ออกมาจากผู้ป่วย ปริมาณสูงมากจริงๆ การเอาน้ำล้างมือมารดา ที่ดูแลลูกป่วยไปตรวจ ยังพบเชื้อเลย
  21. การวินิจฉัย ดูจากอาการของโรค โดยเฉพาะอายุ และท้องเสียในฤดูหนาว ก็คงหนีไม่พ้น สาเหตุจากไวรัสโรต้า โนโร และอื่นๆ
  22. การตรวจเชื้อจากอุจจาระ ทำได้ง่าย เพราะปริมาณไวรัส ที่ขับออกมาสูงมากจริงๆ การตรวจ rapid test หรือ การตรวจทางชีวโมเลกุล ก็ได้
  23. ทางศูนย์ไวรัสจุฬา ติดตามการระบาดมากว่า 10 ปี ปีที่แล้วเป็น "G3" มากที่สุด ปีนี้กำลังติดตาม ศูนย์ไวรัสจุฬา ทำวิจัยละเอียดมาตลอด ใครสนใจขอข้อมูล ติดต่อได้
  24. การรักษา จะรักษาตามอาการ โดยมากจะหายภายใน 3-5 วัน ส่วนน้อยจะเรื้อรัง จากการดูดซึมสารอาหารแลคโตสไม่ได้ ต้องให้สารอาหารหรือนม ไม่มีแลคโตสอีกระยะหนึ่ง จากการพร่องของเอนไซม์แลคเทส แบบทุติยภูมิ
  25. โรคท้องเสียโรตา มีวัคซีนในการป้องกัน 




บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. วัคซีนเสริมป้องกันโรคอุจจาระร่วง วัคซีนโรต้า

2. อาการที่บ่งบอกว่าลูกของคุณโดนโรต้าไวรัส เล่นงานเข้าแล้ว

3. ไวรัสโรต้า วายร้ายทำลายลูกก่อให้เกิดโรคท้องเสียรุนแรง

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

ขอบคุณข้อมูล : ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย