ภาวะคลอดยาก สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก และวิธีป้องกันการคลอดยาก

24 February 2015
39974 view

ภาวะคลอดยาก

ภาวะคลอดยากคืออะไร

ภาวะคลอดยาก หรือการคลอดลำบาก ทางการแพทย์ หมายถึงการคลอดที่มีระยะของการคลอดยาวนานกว่าปกติ ทำให้คลอดทางธรรมชาติไม่ได้ หรือจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือช่วย ระยะเวลาจะนับจากการเจ็บครรภ์จริง 20 ชั่วโมงสำหรับท้องแรก และ 12 ชั่วโมงสำหรับท้องหลัง ภายในระยะเวลาดังกล่าวนี้ ถ้ายังไม่คลอดก็ถือว่าเป็นการคลอดช้าอาจเกิดอันตรายต่อแม่และเด็กได้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้นิยามของคำ “คลอดยาก” ว่า เมื่อแม่เข้าสู่ระยะการคลอดที่เรียกว่าเจ็บครรภ์จริง หรือระยะ active จะต้องมีการเปิดของปากมดลูกอย่างน้อย 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ถ้าปากมดลูกไม่เปิด 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมงหลังจากที่รอแล้วช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็ควรผ่าตัดคลอด หรือถึงแม้ว่าปากมดลูกเปิด 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมงแล้ว แต่ศีรษะของเด็กยังลอยอยู่ ไม่ลงต่ำลงมาเกินกว่า 3 ชั่วโมงสำหรับท้องแรก และ 1.5 ชั่วโมงสำหรับท้องหลังก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์คลอดยาก”

ภาวะคลอดยาก มีสาเหตุมาจาก

  1. คลอดยาก สาเหตุมาจากแรงบีบตัวของมดลูก (Abnormality of power)  ได้แก่ มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ  มดลูกหดรัดตัวแรงมากผิดปกติ แต่หดรัดตัวผิดที่ฌแพาะยอดมดลูกเท่านั้น ทำให้ปากมดลูกไม่เปิดขยาย ทำให้คลอดยาก
  2. คลอดยาก สาเหตุมาจากช่องทางคลอดที่ผิดปกติ (abnormality of passage)   ได้แก่  เชิงกรานแคบ ปากมดลูกตีบ ปากมดลูกบวม มดลูกค่วา ปัสสาวะเต็ม  มีอุจจาระขวางอยู่
  3. ภาวะคลอดยาก สาเหตุมาจากตัวทารก  น้ำคร่ำ และรก ได้แก่ ทารกมีส่วนนำผิดปกติเช่น ก้น  หรือมีส่วนนำเป็นหน้า  ทารกมากกว่า 4000 กรัม ทารกมีรูปร่างผิดปกติเช่นทารกหัวบาตร ทารกอยู่ในท่าขวาง  รกเกาะต่ำ และน้ำคร่ำน้อย
  4. คลอดยาก สาเหตุมาจากสุขภาพจิตของผู้คลอด ( Phychological Condition ) ความกลัว ความกังวลเกี่ยวกับการคลอด ส่งผลให้ ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น กล้ามเนื้มดลูกหดรัดตัวน้อยลง ส่งผลทำให้คลอดยากได้
  5. คลอดยาก สาเหตุมาจาก ภาวะสุขภาพร่างกายของผู้คลอด (Physical condition) คุณแม่ที่มีสุขภาพอ่อนแอ มีอาการอ่อนเพลีย พักได้น้อย เนื่องจากเจ็บครรภ์คลอดในเวลากลางคืน หมดแรง ขาดน้ำ หรือได้รับอุบัติเหตุ บริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน คุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคหืด หอบ โรคไต โรคตับ ภาวะความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์จะกระทบต่อ แรงเบ่งคลอดได้
  6. คลอดยาก สาเหตุมาจากท่าของผู้คลอด(Position) ท่าของผู้คลอดมีผลต่อแรงหดรัดตัวของมดลูก แรงเบ่ง ขนาดเชิงกราน และการหมุนภายในของทารก ท่าในแนวตรงหรือดิ่งเช่นท่ายืน หรือท่านั่งยองๆ ท่าเดินจะทำให้การหดรัดตัวของมดลูกแรงและช่วยเสริมให้ทารกเคลื่อนต่ำลงด้วย  แต่ท่าคลอดพที่เเพทย์ไทยนิยมคือท่านอนหงายและพาดขาทั้ง 2 ข้างไว้บนขาหยั่ง

ตัวอย่างเคส ภาวะคลอดยาก ทารกตายแล้วฟื้น

ตัวอย่างเคส คลอดยากสาเหตุจากทารกน้ำหนักมาก 4000กรัม

คุณแม่วัย 34 ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่ 4 ได้คลอดทารกเพศชาย น้ำหนัก 9 ปอนด์ ( 4050กรัม โดยประมาณ ) แรกคลอดทารกเสียชีวิต  สาเหตุของการคลอดยาก เคสนี้ เนื่องมากจาก ทารกมีน้ำหนักตัวมากและ สัดส่วนของศีรษะทารกใหญ่กว่าเชิงกรานของแม่ เหตุการราวกับปาฎิหาริย์ หลังทารกเสียชีวิต 38 นาที พบว่า ทารกกลับมาหายใจอีกครั้ง แพทย์จึงนำเข้ารักษาตัวที่ NICU และมีชี่วิตรอดมาถึงทุกวันนี้  แพทย์ไม่สามารถระบุได้ว่าการฟื้นกลับมาหายใจของทารกอีกครั้งเกิดขึ้นจากสาเหตุปัจจัยใด  ปาฎิหาริย์ไม่ได้เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะฉะนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรใส่ใจกับวุขภาพครรภ์ ส่วนการป้องกันภาวะคลอดยากที่อาจะเกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้

การดูแลรักษากรณีคุณแม่มีภาวะคลอดยาก 

  1. การรักษาด้วยยา แพทย์จะพิจารณาให้ยา Oxytocin ผ่านน้ำเกลือ เพื่อให้มดลูกมีการหดรัดตัว เมื่อมดลูกมีแรงบีบรัดที่มากพอในอัตราที่เหมาะสมแล้วคุณแม่ก็จะสามารถคลอดลูกได้ตามปกติ
  2. ใช้เครื่องมือแพทย์ในการช่วยคลอด

         2.1 คลอดโดยใช้คีมช่วยคลอด ในกรณีที่คุณแม่คลอดยากและที่ปากมดลูกเปิดหมดเท่านั้น และศีรษะของเด็กจะต้องลงมาในระดับต่ำเกินกระดูกเชิงกรานส่วนกลางมาแล้ว ถ้าศีรษะยังอยู่สูงคุณหมอจะไม่ใช้เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสมองของลูกได้ และอาจทำให้กระดูกเชิงกรานของแม่แยก หรือมดลูกแตกได้ และการใช้คีมช่วยคลอดนี้ศีรษะของเด็กต้องเอียงไม่เกิน 45 องศาคีมช่วยคลอดนี้ศีรษะของเด็กต้องเอียงไม่เกิน 45 องศา

images (2)

               2.2 คลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ ในกรณีคุณแม่คลอดยากและหมดแรงเบ่ง จและแพทย์จะทำการคลอดไม่เกิน 40 นาที เพราะถ้าใช้เวลาเนิ่นนานกว่านี้จะเป็นอันตรายกับลูกได้ ในการใช้เครื่องดูดสูญญากาศต้องใช้ถ้วยครอบศีรษะเด็กเพื่อที่จะดูดออกมาด้วย ซึ่งมีข้อจำกัดว่าในขณะที่ดึงต้องระวังไม่ให้ถ้วยครอบหลุดจากศีรษะเกิน 2 ครั้ง ถ้าหากหลุดเป็นครั้งที่ 3 แพทย์ต้องนำคุณแม่ไปทำการผ่าตัดคลอดในทันทีคลอดยากต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

เคล็ดลับลดความเสี่ยงของภาวะคลอดยาก

  1. คลอดไม่ยากถ้า ควบคุมน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ไม่ควรขึ้นเกิน 11 กิโลกรัม  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ไม่ต้องบำรุงมากจนเกินไป ลดคาร์โบไฮเดรต ป้องกันลูกตัวโต เพราะ ทารกตัวโต  ศีรษะโตกว่าช่องเชิงกรานทำให้คลอดยาก
  2. คลอดไม่ยากถ้า ออกกำลังกาย ช่วงตั้งครรภ์เพื่อทำให้กล้ามเนื้อส่วนเชิงกรานมีความกระชับ แข็งแรง มีความยืดหยุ่นดี ช่วยให้การเบ่งคลอดดำเนินไปได้ด้วยดี

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรใส่ใจสุขภาพครรภ์ตลอด9 เดือนให้แข็งแรงทั้งแม่และลูก ลด ละ เลิก เครียด  ทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย หากิจกรรมที่ชอบทำในเวลาว่าง ออกกำลังกายบ้าง ฝากครรภ์ตามนัด สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การคลอดดำเนินไปอย่างปกตินะคะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. คลอดลูกแบบไหนดี ระหว่างคลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอด

2. คลอดฉุกเฉิน คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล ทำอย่างไร

3. รีแพร์ช่องคลอด กระชับความฟิต

เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert Editorial Team