เลี้ยงลูกให้มี E.Q . สูง ประสบความสำเร็จมากกว่า I.Q. สูง จริงหรือ

29 September 2014
8174 view


E.Q คืออะไร ทำไมต้องเลี้ยงลูกให้ E.Q. สูง 



อีคิว หรือ E.Q. ย่อมาจาก Emotional Quotient  คือ ความฉลาดทางอารมณ์
 
อีคิว ทุกคนต้องมี แต่จะมีมากน้อยแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่นพันธุกรรม สิ่งเเวดล้อม การเลี้ยงดู รวมถึงภาวะโภชนการด้วยค่ะ  อีคิว สามาถฝึกได้ตั้งแต่วันเด็ก คุณพ่อคุณแม่มักจะได้ยินเสมอๆเกี่ยวกับการฝึกลูก เลี้ยงลุกให้มีความฉลาดทางอารมณ์  เพราะเหตุใดจึงต้องฝึก

อีคิว มีความสำคัญ และประโยชน์ต่อบุคคลในหลายแง่มุม ทั้งในชีวิตการงาน ครอบครัว และส่วนตัว เพราะ …

  1. ด้านบุคลิกภาพ อีคิว ช่วยส่งเสริมให้มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นที่ชื่นชอบของบุคคลใกล้ตัว และการยอมรับทางสังคมเนื่องจากสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ดี เข้าใจความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น

  2.  การสื่อสารระหว่างบุคคล อีคิว ช่วยให้เราสามารถแสดงความรู้สึก อารมณ์ของตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมตามกาละเทศะ

  3. การทำงาน อีคิวช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะผุ้ที่มีอีคิวดี จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจ มีความพยายาม และมักจะได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานเป้นอย่างดี

  4. การให้บริการที่ดีและพึงพอใจจากผู้รับบริการ อีคิวช่วยให้เราด้วยการรับฟังและเข้าใจความต้องการของลูกค้า จึงตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

  5. การบริหารจัดการ อีคิว ช่วยเสริมความเป็นผู้นำ รู้จักใช้คนให้ถูกงาน และเข้าไปนั่งในหัวใจเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย

  6. เข้าใจชีวิตของตนเองและผู้อื่น อีคิว ช่วยให้เราเข้าใจตนเอง มีความอดทน ควบคุมตนเองได้ และเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็น ย่อมจะเป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย ส่งผลให้ทั้งชีวิตการงานและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

คุณพ่อคุณแม่มีคำถามว่า IQ กับ EQ แตกต่างกันอย่างไร

เชาว์ปัญญา หรือ IQ (Intelligence quotient) นั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในการเรียน( study success) และมีโอกาสได้รับเลือกให้เข้าทำงาน(get select)แต่จะประสบความสำเร็จในวิชาชีพ(career success) หรือความสำเร็จในชีวิต(life success) นั้นจะขึ้นกับ เชาว์อารมณ์ หรือ EQ ( Emotional Quotient ) มากกว่าค่ะ


ความสำเร็จในชิวติด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไอคิว และ อีคิวดังนี้ค่ะ

ไอคิว ส่งผลสำเร็จต่อการเรียน มากกว่า อีคิว
ไอคิวและอีคิว ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงาน
ไอคิว มีผลต่อการแก้ปัญหาเฉพาะทางมากกว่า อีคิว
อีคิว ส่งผลต่อความสำเร็จในการปรับตัวของบุคคลมากกว่า ไอคิว
อีคิว ส่งผลต่อการครองตนมากกว่า ไอคิว
อีคิว ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้ชีิวิตครอบครัวมากกว่า ไอคิว

แนวทางการพัฒนา EQ นั้นให้กับลูกในแต่ละช่วงวัย 

1. คุณพ่อคุณแม่ต้องส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตสังคมก ล่าวคือคุณพ่อคุรแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตสังคมแก่ลูกน้อย ด้วยการพัฒนาการด้านต่างๆ ตามช่วงลำดับอายุดังนี้

  • วัยแบเบาะ 0- 1 ปี สร้างความไว้วางใจพื้นฐาน (Basic trust) โดยพ่อแม่ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ ไวในการรับรู้ และตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างถูกต้อง จะทำให้เกิดการยอมรับตนเอง (self-acceptance)และความไว้วางใจในสังคมแวดล้อม (social trust)

  • วัยเตาะแตะ  1 – 2 ปี สร้างความสามารถควบคุมตนเอง ( Self-Control) โดยฝึกหัดการควบคุมร่างกายในการกิน นอน และขับถ่ายอย่างเหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินไป ให้เด็กมีโอกาสเล่นและสำรวจสิ่งแวดล้อมโดยพ่อแม่คอยดูแลป้องกันอันตรายอยู่ใกล้ เด็กจะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง (autonomy) เกิดขึ้น

  • วัยอนุบาล3 – 5 ปี พัฒนาความคิดริเริ่ม( initiative) ส่งเสริมให้มีโอกาสเล่นสมมติ เล่นแบบใช้ จินตนาการ เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น และรับฟัง สนใจ และตอบคำถามที่เด็กถาม

  • วัยเรียน 6 -12 ปี พัฒนาความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน (industry) ให้โอกาส และส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ และฝึกฝนในการกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งรับผิดชอบตัวเองในกิจวัตรประจำวัน การเรียน และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานส่วนรวมในบ้าน

2. ฝึกให้มีระเบียบวินัย (discipline) มีตารางกิจวัตรประจำวัน หน้าที่รับผิดชอบในเรื่องส่วนตัว และส่วนรวมในบ้าน กิริยามารยาท ให้ขอบเขตที่ชัดเจนว่าอะไรที่สามารถทำได้ และอะไรที่ทำไม่ได้บ้าง ซึ่งรายละเอียดระเบียบปฏิบัติของแต่ละครอบครัวจะแตกต่างกันไปตามสภาพทางสังคม ความเป็นอยู่ของครอบครัวนั้น ๆ ข้อกำหนดสำหรับสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวก็แตกต่างกันไปตามอายุ เพศ  ซึ่งพ่อแม่จะเป็นผู้กำหนดโดยรับฟังความคิดเห็นของลูกประกอบ และสื่อให้ทุกคนรู้ข้อตกลงอย่างชัดเจน
การฝึกดังกล่าว จะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผุ้นำครอบครัวและสมาชิกภายในบ้านต้องให้ร่วมมือกันไม่ขัดแย้งกัน ฝึกสม่ำเสมอต่อเนื่อง ด้วยท่าทีที่จริงจังแต่นุ่มนวล หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์รุนแรง และให้แรงเสริม (reinforcement) ต่อพฤติกรรมที่ดีโดยการแสดงความชื่นชม โดยคำพูด หรือโดยกิริยาเช่น ยิ้ม โอบกอด เป็นต้น เด็กที่มีระเบียบวินัยจะมีความอดทน สามารถรอคอย ควบคุมและจัดการกับอารมณ์ได้ดี

3. ฝึกให้รู้จักแก้ปัญหา ( Problem solving skills) โดยเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ลูกคิด ลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง และให้คำปรึกษาตามที่เด็กต้องการหรือเข้าช่วยเหลือเมื่อสิ่งนั้นยากเกินความสามารถของลูกเท่านั้น

4. ฝึกทักษะทางอารมณ์ (Emotional coaching) การช่วยให้เด็กมีการพัฒนาเชาว์อารมณ์นั้นผู้ดูแลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อแม่ ครู อาจารย์ ก็ต้องใช้เชาว์อารมณ์กับเด็กๆ ด้วย ต้องสามารถตระหนักรู้อารมณ์ของเด็กๆ สามารถที่จะเห็นอกเห็นใจเขา ช่วยปลอบโยน ระงับอารมณ์ และจัดการกับอารมณ์เหล่านั้น เรื่องใหญ่สำหรับผู้เป็นพ่อแม่ค่ะ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

 อ้างอิง  :  เลี้ยงลูกอย่างไรให้E.Q.ดี โดย ผศ.นพ.ชาตรี  วิฑูรชาติ 
                http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=684