ฝึกนั่งกระโถนอย่างไร ลูกไม่เครียด

17 September 2014
10052 view

ฝึกนั่งกระโถน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ความพร้อมในการควบคุมระบบการขับถ่าย

  • เด็กๆ สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ก็ต่อเมื่อร่างกายมีความพร้อม และต้องการที่จะให้บริเวณก้นสะอาดและแห้ง ไม่เลอะเทอะ ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมีความพร้อมแตกต่างกันไป ฉะนั้น คุณไม่ควรเปรียบเทียบลูกคุณกับเด็กคนอื่น
  • เด็กส่วนใหญ่จะควบคุมระบบขับถ่ายอุจจาระได้ก่อนการควบคุมระบบการถ่ายปัสสาวะ เด็กเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ 1 ใน 2 คนมักจะควบคุม ระบบการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระได้
  • เมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ เด็ก 2 ใน 3 จะสามารถควบคุม ระบบการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะทั้งกลางวันและกลางคืน ได้เกือบทุกวัน แม้ว่าจะเป็นวันที่มีเรื่องน่าตื่นเต้น, หงุดหงิด หรือพยายามฝึกฝนในการทำกิจกรรมบางอย่าง
  • เมื่ออายุประมาณ 5 ขวบ เด็กส่วนมากหรือเรียก ได้ว่าแทบทุกคนสามารถควบคุมระบบขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะได้ดี

เพราะการขับถ่าย ส่งผลต่ออารมณ์และพัฒนาการของลูก หากการขับถ่ายของลูกผิดปกติ ก็จะทำให้ลูกอารมณ์บูด คุณแม่ลองเช็กการขับถ่ายของลูกดูนะคะ ว่าปกติดีหรือไม่ แค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ มาเช็กกันเลย

เรียนรู้การนั่งกระโถนเริ่มเมื่อไหร่ดี

จะเป็นการช่วยได้มากเลยถ้าคุณจะระลึกอยู่เสมอว่า คุณไม่สามารถและไม่ควรที่จะบังคับขู่เข็ญลูกให้นั่ง กระโถนหรือเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย เมื่อถึงเวลาที่ลูกพร้อม ลูกจะนั่งถ่ายบนกระโถนเอง (หรือบนที่นั่งชักโครกสำหรับเด็ก) เพราะลูกเองก็ไม่อยากไปโรงเรียนโดยใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลาเหมือนกัน ฉะนั้นเป็นการดีที่สุดถ้าคุณจะค่อยๆ ใช้วิธีกระตุ้น ชักจูงใจให้ลูก เกิดความอยากที่จะนั่งกระโถนเพื่อขับถ่ายเองคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่เริ่มฝึกลูกให้นั่งกระโถน เมื่ออายุประมาณ 18 – 24 เดือน ซึ่งระยะนี้เด็กพร้อมที่จะ ฝึกได้เป็นอย่างดี เพราะเด็กๆ จะมีความรู้สึกถึงท้อง ไส้การเคลื่อนไหวภายใน และความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระแล้ว ฉะนั้นลองสังเกตดูว่าเมื่อไหร่ที่คุณคิดว่าลูกพร้อมที่จะหัดนั่ง กระโถนก็ฝึกได้เลย ส่วนใหญ่แล้วเด็กมีระดับขั้นตอนใน พัฒนาการควบคุมระบบการขับถ่าย ดังนี้

  1. เริ่มมีความรู้สึกว่าผ้าอ้อมที่นุ่งอยู่เฉอะแฉะ เปียก เลอะเทอะ
  2. เริ่มมีความรู้สึกถึงท้องไส้ การเคลื่อนไหวภายใน และรู้สึกว่าอยากถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ และสามารถบอกคุณแม่ให้ทราบล่วงหน้าได้จะแสดงท่าที ส่งสัญญาณให้คุณแม่ทราบล่วงหน้าว่า กำลังจะปล่อยออกมาแล้วนะ หรือปล่อยออกมาแล้วล่ะ
  3. ถ้าลูกอยู่ใน 2 ขั้นสุดท้าย คุณจะพบว่าเป็นการไม่ยาก เลยที่จะฝึกหัดให้ลูกนั่งกระโถน หรือนั่งบนที่นั่งชักโครก สำหรับเด็ก (เป็นเบาะนิ่มๆ หรือเบาะพลาสติคสำหรับเด็กนั่ง แล้วครอบทับชักโครกอีกที) แต่ถ้าคุณฝึกลูกเร็วเกินไป คุณก็จะต้องเตรียมตัวอดทนกับอุบัติเหตุที่ลูกอาจทำเลอะเทอะ นอกกระโถนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อลูกกำลังเรียนรู้การควบคุมระบบขับถ่าย

สิ่งที่ควรปฎิบัติในการฝึกลูกน้อยนั่งกระโถน

  1. วางกระโถนไว้ในห้องน้ำ หรือในที่ซึ่งลูกจะมองเห็นได้ชัด และรู้ว่ามีไว้เพื่ออะไร ยิ่งถ้าคุณมีลูกที่โตกว่า และกำลังใช้กระโถนนี้ จะเป็นตัวอย่างแก่ลูกคนที่กำลังหัดนั่งกระโถนด้วย กรณีนี้จะช่วยได้มาก
  2. ถ้าลูกคุณขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลาในแต่ละวัน คุณอาจถอดผ้าอ้อมลูกออก แล้วแนะนำให้ลูกลองไปถ่ายในกระโถนดูบ้าง ถ้าลูกทำท่าไม่ชอบที่จะถ่ายใน กระโถน คุณก็ค่อยใส่ผ้าอ้อมให้ตามเดิม และลองพยายามดูใหม่ในอีก 2 อาทิตย์ถัดไป
  3. ทันทีที่คุณรู้ว่าลูกกำลังจะปัสสาวะหรือถ่าย โดยที่ลูกส่งสัญญาณให้ทราบ คุณก็รีบถอดผ้าอ้อมให้ลูกแล้วพาไป นั่งกระโถน หรือเข้าห้องน้ำ (โดยนั่งที่นั่งสำหรับเด็กบนชักโครก) แต่ถ้าไม่ทันเพราะลูกทำเลอะเทอะเสียก่อน คุณก็จัดการเช็ดให้เรียบร้อย แล้วค่อยพยายามดูใหม่ใน อาทิตย์หน้าหรือสองอาทิตย์ถัดไป ซึ่งคงต้องใช้เวลาสักหน่อยที่จะ ทำให้ลูกเคยชินกับการนั่งถ่ายในกระโถน
  4. ลูกจะดีใจเมื่อถ่ายในกระโถนได้สำเร็จ ฉะนั้น คุณควรให้กำลังใจและกล่าวชมเชยลูกในความพยายาม แต่ไม่ควรตอบแทนโดยการให้ขนมหรือสิ่งอื่นเป็นรางวัล เพราะจะทำให้เป็นการสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหาในภายหลัง

ข้อคิดในการฝึกการขับถ่าย

ถ้าลูกไม่สนใจที่จะนั่งบนกระโถนเพื่อขับถ่าย คุณก็ไม่ควรเป็นกังวล ให้พยายามเตือนตัวเองเสมอว่า ในที่สุดแล้วลูกก็จะต้องการนั่งกระโถนเอง เพราะไม่อยากถ่ายเลอะเทอะในผ้าอ้อมอีกต่อไป

  1. ลดความกดดัน
  2. ถ้าลูกไม่ยอมนั่งกระโถนจริงๆ คุณก็ให้ลูกใส่ผ้าอ้อมตามเดิม รอสักประมาณ 2 อาทิตย์ถัดไป ค่อยมาเริ่มฝึกกันใหม่อีกครั้ง แสดงให้ลูกทราบว่าคุณดีใจ และยินดีช่วยเหลือลูก เมื่อลูกนั่งถ่ายบนกระโถนได้สำเร็จ (หรือนั่งบนที่นั่งสำหรับเด็กบนชักโครก) หรือควบคุมระบบขับถ่ายได้ดี ไม่ทำเปียกแต่ถ้าลูกทำเปียกบ้าง คุณควรพยายามใจเย็นและอดทน โดยอธิบายให้ลูกทราบว่า ลูกจะถ่ายแบบนี้ไม่ได้ ควรไปถ่ายในกระโถนหรือส้วม ไม่ต้องทำบ่อยแต่ลูกจะเข้าใจไปเอง
  3. ลองจำกัดเครื่องดื่มบ้างโดยเฉพาะน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มช็อคโกแลต เด็กหลายคนในช่วงนี้ เป็นช่วงที่ชอบขอเครื่องดื่มมากๆ ควรให้น้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มรสหวานเป็นรอบพิเศษมากกว่าที่จะให้เป็นกิจวัตร โดยให้ดื่มน้ำเปล่าในช่วงนั้นแทนน้ำผลไม้ซึ่งเด็กจะดื่มน้อยลง เพราะเด็กบางคนดื่มน้ำเพื่อความสบายใจและเพียงเพื่อจะหาอะไรทำเท่านั้น ลองหาสิ่งอื่นให้เด็กทำแก้เบื่อ
  4. มีเด็กบางรายอายุ 4 ขวบยังทำเปียกในตอนกลางคืน คุณอาจให้ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปไปพลางๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องซักผ้าปูที่นอนทุกเช้า ขณะเดียวกันพยายามจำกัดเครื่องดื่มในตอนหัวค่ำ หรืออาจปลุกลูกไปเข้าห้องน้ำในตอนที่คุณกำลังจะเข้านอน เช่น 4 ทุ่ม เด็กส่วนมากสามารถหลับต่อได้ง่ายมาก
  5. ถ้าลูกคุณไม่ทำเปียกเลยมาได้พักใหญ่ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือกลางคืน แล้วเริ่มมาทำเปียกอีก แสดงว่าอาจเกี่ยวพันกับปัญหาทางอารมณ์ เช่นคุณแม่กำลังจะมีน้องใหม่ หรือย้ายบ้านใหม่ เด็กยังปรับตัวไม่ได้ ฉะนั้นคุณควรเข้าใจและเห็นใจลูก เพราะลูกอาจกำลังอยู่ในช่วงว้าวุ่นใจ ไม่ได้ตั้งใจจะทำเปียก
  6. เมื่อถึงเวลาที่ลูกเข้าโรงเรียนแล้วเกิดทำเปียก ลูกคุณจะเริ่มว้าวุ่นใจ ไม่พอใจตัวเองเท่าๆ กับที่คุณรู้สึก ฉะนั้นคุณไม่ควรไปโกรธลูก เพราะลูกต้องการทราบว่าคุณแม่อยู่ข้างเดียวกับเค้าและเห็นใจเค้า และลูกก็จะพยายามช่วยคุณแก้ปัญหาในการทำเปียกของเขาด้วยเช่นกัน เพราะบัดนี้เขาจะคิดว่าเป็นปัญหาของเขามากกว่าเป็นปัญหาของคุณค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. การเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กง่ายๆ สไตล์คุณแม่มืออาชีพ

2. ขั้นตอนการอาบน้ำเด็กที่ถูกต้อง

3. เทคนิคการอาบน้ำทารกแรกเกิด

เรียบเรียงโดย : พว.นฤมล  เปรมปราโมทย์ 
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต