ลูกร้องกรี๊ดๆรับมืออย่างไร วิธีแก้ไขพฤติกรรม ลูกร้องกรี๊ดๆ โวยวาย เอาแต่ใจให้กลายเป็นเด็กน่ารัก

01 April 2014
107337 view

 ลูกร้องกรี๊ดๆรับมืออย่างไร

เด็กที่มีพฤติกรรมร้องกรี๊ดๆ พบได้มากใน 1-3 ปี เนื่องจากช่วงวัยดังกล่าวค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองสูง เกรงใจไม่เป็น ไม่รู้จัก กฎ กรอบทางสังคม คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนที่คอยหล่อหลอมและเป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคมที่ดีให้กับลูกๆ ลูกบ้านไหนที่มีพฤติกรรมร้องกรี๊ดๆ ท่ามกลางสาธารณชน ย่อมสร้างความอับอายให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะหลายคน หลากความคิด และมีอยู่บ่อยครั้ง ที่มีสายตาบางคู่แอบตำหนิผู้เป็นพ่อ เป็นแม่อยู่ในใจ เพราะเขาเหล่านั้นย่อมคิดว่า ความบกพร่องดังกล่าวเกิดจากการไม่สั่งสอนของพ่อแม่นั่นเอง  แต่ความเป้นจริงนั้น ไม่จริงซะทีเดียวค่ะ  ลูกร้องกรี๊ดๆเกิดจาก สาเหตุดังต่อไปนี้

สาเหตุที่ลูกร้องกรี๊ด

  1. เป็นพฤติกรรมการแสดงออกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าโกรธ ไม่พอใจ หงุดหงิด อาจจะเป็นภาวะปกติในช่วงที่เด็กยังพูดได้ไม่เก่ง (วัย 1 – 3 ปี) ที่เด็กแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไม่พอใจออกมา เมื่อเติบโตขึ้น พฤติกรรมการกรีดร้อง จะลดลงจนหายไปหมด แต่เด็กจะพูดออกมา ถึงความต้องการหรือคับข้องใจเพิ่มขึ้น
  2.  เป็นผลมาจากการเรียนรู้ ผลของการกรี๊ดแต่ละครั้งได้รับผลตอบแทนอย่างไร ถ้าพอใจ ก็ทำให้ใช้อารมณ์กรี๊ดมาเป้นตัวต่อรองครั้งต่อๆไป คุณพ่อคุณแม่อย่าเผลอตามใจนะคะ
  3. เป็นพฤติกรรมที่ลอกเลียนแบบมาจากผู้ใหญ่ ทีวี หรือสื่อต่างๆที่แสดงอารมณ์ดังกล่าวให้เด็กเห็น
  4. เกิดจากการยั่วยุ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น คนเลี้ยง  พ่อ แม่ เพื่อ ให้เด็กโกรธบ่อย ๆ
  5. เกิดจากการเลี้ยงดูที่ตามใจมาก ส่งเสริมให้เด็กเอาแต่ใจตัวเอง ไม่สอนให้หัดควบคุมอารมณ์ทุกอย่างต้องได้ดั่งใจ
  6. เป็นพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจของวัย 1-3 ปี
  7. เด็กขาดทักษะในการช่วยเหลือตนเองที่ดี แลเกิดจากความบกพร่องในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ไม่ดี

วิธีการรับมือแก้ไขเมื่อลูกร้องกรี๊ดๆ

  1. ให้ความสำคัญกับลูก ขณะที่ยังไม่อาการกรี๊ด หรือขณะที่ลูก เด็กปกติทั่วไปจะยังไม่เเสดงอาการร้องกรี๊ดๆ อยู่ตลอด แต่เป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กว่าเวลาประพฤติกรรมตัวดี ๆ น่ารัก ไม่ค่อยมีผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ หรือชี้ให้เด็กเห็นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นดีและเหมาะสมแล้ว แต่พอเด็กกรี๊ดออกมาเท่านั้น ผู้ใหญ่จะรีบวิ่งเข้าหาเพื่อปลอบหรือให้ความสำคัญ หรือเข้าไปดุ ว่า ตี สั่งสอนการที่ผู้ใหญ่ พ่อ แม่ แสดงออกเช่นนั้นเท่ากับว่าให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเขานั่นเอง หากคุณพ่อคุณแม่ ให้ความสำคัญก่อนกรี๊ดอยู่บ่อยๆไม่ละเลยทำแบบนี้ซ้ำ ๆ ทำให้เด้กเรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องกรี๊ดเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  2. ในกรณีที่เอาแต่ใจตัวเอง ทุกอย่างต้องได้ ถ้าไม่ได้ก็จะโวยวาย เด็กลักษณะนี้มักจะถูกเลี้ยงดูโดยการตามใจเด็กมากเกินไป จนไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่ชัด โดยที่พ่อแม่และพี่เลี้ยงจะพยายามทำทุกอย่างตามที่เด็กต้องการ เพื่อจะได้ไม่ร้องไห้ และเด็กเองก็เรียนรู้ถึงอิทธิพลของการโวยวายกรี๊ดร้องว่าจะใช้เป็น “ไม้ตาย” เวลาไม่ได้ดั่งใจ เช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนท่าทีการเลี้ยงดูเด็กใหม่อย่าคิดว่าการทำ ทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้เด็กร้องไห้นั้น จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นมีคนรักคนชอบมากมาย เด็กเองต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ในกฎเกณฑ์ ลดการตามใจ ฝึกให้ช่วยตนเองเพิ่มขึ้น สิ่งใดที่เล่นไม่ได้ก็อย่าให้เล่นถึงแม้ว่าเด็กจะอาละวาดขนาดไหน ก็อย่าสนใจ แต่ให้เบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่น
  3.  ลดการยั่วแหย่เด็ก หรือทำให้เด็กโกรธโดยไม่จำเป็น
  4. ในกรณีที่มีผู้ใหญ่ที่ชอบกรี๊ด หรือโวยวายเป็นต้นแบบของวิธีที่จะเอาแต่ใจตัวเอง จำเป็นต้องพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา เพื่อลดแบบอย่าง ถ้าเป็นไปได้กรณีที่เปลี่ยนผู้ใหญ่ไม่ได้ก็ต้องแยกเด็กให้ห่างออกมา
  5. ฝึกให้เด็กควบคุมอารมณ์ อารมณ์รัก ชอบ ดีใจ ไม่พอใจ โกรธ ผิดหวัง ฯลฯ เป็นอารมณ์ที่พบได้ในเด็กวัย 3 – 5 ปี หน้าที่ของพ่อแม่ก็คือสอนให้เด็กรู้ทันว่าตนเองรู้สุขอย่างไร และฝึกให้หัดควบคุมอารมณ์ หรือฝึกวิธีระบายอารมณ์ ซึ่งมีหลายวิธีตั้งแต่การพูดคุย การทำสิ่งทดแทน เช่นโกรธจัด ๆ ก็ไปเตะฟุตบอล หรือว่ายน้ำ หรือวาดรูปเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้โกรธ เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ไตร่ตรองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น
  6. เพิ่มทักษะในการเล่น เช่น การว่ายน้ำ เล่นบอล ถีบจักรยาน วาดรูป เล่นตุ๊กตา เล่นขายของ ฯลฯ เพราะการเล่นในเด็กมีความหมายเท่ากับการทำงานของผู้ใหญ่ ในชีวิตจริงเราพบว่าเป็นไปไม่ได้ที่ลูกจะได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ ความผิดหวัง ความเสียใจ ความโรธแค้น จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น แต่การเล่นและการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กผ่านภาวะเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ได้มีเวลาไตร่ตรอง และระบายความรู้สึกผ่านการเล่นนี้เอง
  7. เพิ่มทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ปัญหาของเด็ก 3 – 5 ปี มักหนีไม่พ้นปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ทำน้ำหก ติดกระดุมเขย่ง หารองเท้าไม่พบ ฯลฯ การฝึกหัดให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลทำให้เด็กมีความชำนาญที่จะ แก้ไขสถานการณ์ที่ผิดหวังได้เก่งกว่าเด็กที่ช่วยตนเองไม่ได้ ซึ่งก็คงทำได้แค่ส่งเสียงกรี๊ด ๆ รอให้ผู้ใหญ่เข้ามาช่วยเหลืออีกตามเคย

 

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. เรื่องเล่าจากคุณหมอ…ตอนเลือกพี่เลี้ยงเด็กให้ปลอดภัย

2. วิธีปราบลูกวัย รื้อของ ตามเทคนิคของจิตแพทย์

3. เคล็ดลับเลี้ยงลูกให้สมองดี ในยุคเทคโนโลยีแต่ไม่ติดจอ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team