ประจำเดือนหลังคลอดขาดหาย ผิดปกติหรือไม่ ควรทำอย่างไร

16 May 2014
25570 view

ประจำเดือนหลังคลอด

เป็นคำถามที่ถูกถามบ่อยมากหลังจากที่คุณแม่คลอด เชื่อว่าเป็นอีกเรื่องที่อยู่ในใจ สงสัยและอยากได้คำตอบเรื่องประจำเดือนหลังคลอด คำตอบทางการแพทย์ ที่ได้คือ ไม่สามารถบอกได้ค่ะว่าเมื่อไหร่ รอบเดือนจะกลับมาปกติเหมือเช่นเคย  แต่ไม่ใช่เรื่องเเปลก เพราะเป็นกระบวนการทำงานตามธรรมชาติของรางกายคนเรา

คุณแม่มือใหม่เข้าใจปัญหาประจำเดือนหลังคลอด

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

รอบเดือนปกติเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก มีฮอร์โมนสองชนิดคือ Estrogen และ Progesteroneควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งระดับฮอร์โมนทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กับการตกไข่จากรังไข่ โดยแต่ละรอบเดือนจะมีช่วงเวลาประมาณ 26-30 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทำให้ประจำเดือน เกิดขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งแต่ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นจะไม่มีการตกไข่ รวมทั้งฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปตามปกติ จึงไม่มีประจำเดือนเกิดขึ้น และเมื่อคุณแม่คลอดแล้ว อิทธิพลของฮอร์โมนต่างๆ นั้นจะยังคงอยู่ไปอีกสักระยะหนึ่ง ทำให้ยังไม่มีการตกไข่ จึงไม่มีรอบเดือน แต่ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะกลับมาอีกครั้งเมื่อไหร่ โดยส่วนมากพบว่า หลังคลอด 6-8 สัปดาห์รอบเดือนจะกลับมาเป้นปกติ  ยกเว้นในกลุ่มของคุณแม่ที่เบี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่รอบเดือนยังจะขาดหายต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งก้เป็นเรื่องปกติเช่นกันค่ะ

ทำอย่างไรกับ ประจำเดือนหลังคลอด ที่ขาดหาย

ประจำเดือนหลังคลอด ขาดหายหลังคลอดเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ คุณแม่หลังคลอดทำตัวตามปกติ แต่ในระหว่างนี้ อาจมีการตกไข่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอดครับ ซึ่งถ้าไม่ได้มีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมอย่างทันการณ์แล้ว ก็อาจเกิดการตั้งครรภ์ได้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ควรมีการคุมกำเนิดร่วมดว้ย  ส่วนลักษณะประจำเดือนที่จะมีนั้นก็เป็นไปได้หลายรูปแบบ อาจเป็นเหมือนปกติเลยก็ได้ หรือบางกรณี อาจมีประจำเดือนไม่มากนักในช่วงแรกก็ได้ แต่ก็จะกลับเป็นปกติในที่สุด ไม่ต้องกังวลอะไร แต่ถ้าประจำเดือนมีลักษณะกะปริดกะปรอย หรือมามากมายหรือนานเกิน 7 วัน ก็แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอีกครั้งอาจเกิดจากความผิดปกติทางนรีเวชอย่างอื่น เช่น เนื้องอก มะเร็ง เป็นต้น

สำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรอย่างต่อเนื่อง ประจำเดือนหลังคลอด จะขาดหายนาน เกือบเท่าๆกับระยะที่ให้นมลูก การดูแลตัวเอง ควรคุมกำเนิดร่วมด้วยเช่นกัน เพราะสามารถตั้งครรภ์ได้  การคุมกำเนิดควรเลือกวิธีที่ไม่ส่งผลต่อทารกที่ดื่มนม เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร และยาฉีดคุมกำเนิดสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรเช่นกันค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ลดอาการปวดประจำเดือน ง่ายๆ ด้วยกล้วยหอม!!

2. ประจำเดือนขาด! ประจำเดือนไม่มา! ...ใช่ว่าจะตั้งครรภ์เสมอไป

3. สีรอบเดือนบ่งบอกสุขภาพจริงหรือมั่วผู้หญิงต้องอ่าน

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team